0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 436 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-03-14
จำนวนครั้งที่ชม : 7,510,304 ครั้ง
Online : 59 คน
Photo

    ความรู้กฎหมายภาษีอากร

    2013-01-08 15:05:05 ใน คดีภาษีอากร » 0 204149 ความรู้กฎหมายภาษีอากร
    ภาษีอากร หมายถึง สิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากราษฎร เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษี ภาษีอากรมีลักษณะเป็นการบังคับเก็บ ประชาชนทุกคนเป็นผู้รับผิดชอบในการเสียภาษี วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินภาษีคือ นำไปใช้เพื่อสาธารณะหรือสังคมโดยรวม
    วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษี
    1. เพื่อหารายได้ให้เพียงพอมาใช้จ่ายในกิจการของรัฐบาล
    2. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายรายได้
    3. เพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
    4. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
    5. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
    หลักการจัดเก็บภาษีที่ดีมี 6 ประการคือ
    1. หลักความเป็นธรรม นับว่าสำคัญมากเนื่องจาก การจัดเก็บภาษีอากรที่เป็นธรรมจะมีส่วนช่วยยกระดับความสมัครใจในการเสียภาษีอากร ของประชาชนได้มาก
    2. หลักความแน่นอน เช่น
    - ความแน่นอน และชัดเจนในตัวบทกฎหมาย
    - ความแน่นอน และชัดเจนในวิธีปฏิบัติจัดเก็บ
    - ความแน่นอนในด้านภาระภาษีว่าตกอยู่กับผู้ใด
    - ความแน่นอนในการลดรายจ่ายของภาคเอกชน
    - ความแน่นอนในการทำรายได้แก่รัฐบาล
    3. หลักความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ เพื่อมิให้กระทบกระเทือนการตัดสินใจทาง ธุรกิจของประชาชน
    4 . หลักอำนวยรายได้ ภาษีอากรที่ดีจะต้องมีลักษณะทำรายได้ให้กับรัฐบาลได้ดี ได้แก่
    - เป็นภาษีอากรที่มีฐานกว้าง
    - การกำหนดอัตราภาษีที่ใช้หากมีลักษณะก้าวหน้าจนเกินไปอาจจะมี ผลกระทบกระเทือนในด้านอื่นได้
    5. หลักความยืดหยุ่น ภาษีอากรที่ดีจะต้องมีความยืดหยุ่น หรือปรับตัวเข้ากับการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม เอื้ออำนวย ต่อการบริหารการ จัดเก็บได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ
    6. หลักประสิทธิภาพในการบริหาร ระบบภาษีอากรที่ดีต้องเป็นระบบที่สามารถ จัดเก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
    - เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
    - ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานรับผิดชอบการจัดเก็บภาษี สามารถจัดเก็บได้อย่างทั่วถึง เต็มเม็ดเต็มหน่วยการนำหลักที่ดีของการจัดเก็บภาษี จะต้องคำนึงถึงแนวนโยบายของรัฐบาล และคำนึงถึงสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย
    การวางแผนภาษีมีประโยชน์อย่างไร
    หากผู้ประกอบการรายใด ต้องการที่จะประสบผลสำเร็จโดยได้รับผลกำไรสูงสุด แต่อยากเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดแล้ว ผู้ประกอบการนั้นจะต้องศึกษา หาความรู้ด้านภาษีให้ ได้เยอะที่สุด และที่สำคัญจะต้องคำนึงถึง ภาระทางภาษีอากร ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ เพราะหมายถึงภาระค่าใช้จ่าย ของธุรกิจที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ดังนั้นการวางแผนทางภาษีอากร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อการปฏิบัติในทางภาษีอากรให้เป็นไปโดยถูกต้องและ ครบถ้วน ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อธุรกิจดังนี้
    1.ช่วยให้การเสียภาษีอากรเป็นไปโดยถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขทางภาษีตามที่กฎหมายกำหนดแต่ทั้งนี้จะต้องเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดโดยไม่ อาศัยการหลีกเลี่ยงภาษีอากร
    2. ช่วยขจัดปัญหาในการเสียภาษีของธุรกิจ
    3. ประหยัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเสียภาษี ไม่ถูกต้อง ซึ่งหมายถึง เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าปรับทางอาญา
    4. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่ละประเภทให้เต็มที่ และถูกต้อง
    5.ช่วยลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นและไม่ได้มาตรฐานเพราะการดำเนินงานทางด้านเอกสารหลักฐานทางธุรกิจจะสอดคล้องกันระหว่างทางธุรกิจและภาษีอากร
    6. ช่วยให้คลายความกังวลต่อการถูกเรียกตรวจสอบ
    7.ช่วยเสริมสร้างระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพได้เพราะในขั้นตอนของการวางแผนภาษีจะต้องศึกษาแนวทางปฏิบัติงานของธุรกิจให้ละเอียดถี่ถ้วนซึ่ง จะช่วยให้เห็น ปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขไปในคราวเดียวกัน
    หมายเหตุ การวางแผนภาษีมิใช่การหลีกเลี่ยงหรือหนีการเสียภาษีแต่เป็นดำเนินงานภายใต้ข้อกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายทางภาษี
     
    การวางแผนภาษีอากรกับหนีภาษี ต่างกันอย่างไร
    ความหมายของการวางแผนภาษีอากร ( Tax Planning) การวางแผนภาษีอากรคือการเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน และประหยัด การทำให้ไม่ ต้องชำระภาษีหรือการทำให้เสียภาษีน้อยที่สุดโดยวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ถือเป็นการวางแผนภาษีอากรด้วยการวางแผนภาษีอากรต้องกระทำก่อน เริ่มต้นประกอบธุรกิจ และเมื่อจะเลิกประกอบ ธุรกิจก็ต้องมีการวางแผนภาษีอากรด้วย
    ความหมายของการหนีภาษี ( Tax Evasion) การหนีภาษีคือการที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายหรือฉ้อฉลเพื่อที่จะทำให้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษี น้อยลง ซึ่งการกระทำเช่นนี้มีความผิดและต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ตัวอย่างของการหนีภาษี เช่น ผู้เสียภาษีไม่กรอกจำนวนเงินได้หรือทรัพย์สินที่จะ ต้องเสียภาษีในแบบแสดงรายการโดยเจตนา หรือกรอกแต่กรอกไม่ตรงต่อความเป็นจริงเพื่อให้เสียภาษีน้อย หรือการตั้งราคาโอน (Transfer Pricing) ก็เป็นการหนีภาษีเช่นเดียวกัน การตั้งราคาโอน หมายถึงการที่บริษัทในเครือของบริษัทข้ามชาติ ( Multinational Firm) ซื้อสินค้าจากบริษัทแม่หรือในบริษัท ในเครือในต่างประเทศในราคาสูงกว่าความเป็นจริง เพื่อทำให้ต้นทุนสูง กำไรของบริษัทในประเทศไทยจะได้ต่ำ ทำให้เสียภาษีน้อยลง หรือการที่บริษัท ในประเทศไทยขายสินค้าให้แก่บริษัทแม่หรือบริษัทในเครือในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง กำไรจะได้ต่ำหรือขาดทุน ทำให้เสียภาษีในประเทศ ไทยน้อยหรือไม่ต้องเสียภาษีเลย
    ความหมายของการหลบหลีกภาษี ( Tax Avoidance) การหนีภาษีต่างกับการหลบหลีกภาษี การหลบหลีกภาษีคือ การที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ถูกต้องตาม กฎหมายเพื่อทำให้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลง การใช้ช่องโหว่ของกฎหมายภาษีอากร ( Tax Loopholes) เพื่อทำให้ไม่ต้องเสียภาษี หรือเสียภาษี น้อยลงก็ถือเป็นการหลบหลีกด้วย การหลบหลีกภาษีถือเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย ฉะนั้นการหลบหลีกภาษีจึงเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนภาษี ตัวอย่างของการหลบหลีกภาษี เช่น การที่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยไม่นำเงินได้ที่ได้รับจากการทำงานหรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาในปีภาษี เดียวกันกับที่ได้รับเงินได้นั้น แต่นำเข้ามาในปีภาษีอื่น ทำให้ ไม่ต้องเสียภาษี ก็เป็นการหลบหลีกภาษีที่ไม่ผิดกฎหมาย เพราะตามแนวปฏิบัติของกรม สรรพากร หากผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยไม่นำเงินได้ที่ได้รับจากการทำงาน หรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกับ ที่ได้รับเงินได้นั้น กรมสรรพากรก็ไม่เก็บภาษี (หนังสือกรมสรรพากร ที่ กค 0802/696 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2530)
    คำแนะนำ 6 ประการ
    1. ผู้วางแผนควรจะรู้ว่ามีเงินได้ ทรัพย์สิน หรือธุรกรรมอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการยกเว้นภาษี นั้นอาจเป็นการยกเว้นโดย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงก็ได้นอกจากนี้อาจเป็นการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี การยกเว้นภาษีนั้นอาจจะเป็นการยก เว้นโดยพระราชบัญญัติ พระราช กฤษฎีกา หรือกฎกระทรวงก็ได้ นอกจากนี้อาจจะเป็นการยกเว้นโดยอนุสัญญาภาษีซ้อน ( Double Taxation Agreement) ซึ่งประเทศไทยได้ทำไว้กับประเทศ ต่าง ๆ รวม 40 ประเทศก็ได้
    2. องค์กรธุรกิจเหล่านี้ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด กิจการร่วมค้า ( Joint venture) และกลุ่มบริษัท ( Consortium)ผู้วางแผนควรจะรู้ว่าองค์กรธุรกิจใดเสียภาษีมากน้อยแตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่จะช่วยให้ตัดสินใจเลือกองค์กรธุรกิจที่เหมาะสมแก่การประกอบการได้ถูกต้อง
     
    3. ผู้วางแผนควรจะรู้รายละเอียดของภาษีแต่ละประเภท ตัวอย่างเช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้วางแผนควรจะรู้ว่าผู้ใดเป็นผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล เสียจากเงินได้อะไร ? เสียในอัตราเท่าใด ? ถ้ามีข้อพิพาทเกิดขึ้นจะมีวิธีการในการหาข้อยุติอย่างไร ?
    4. ผู้วางแผนควรจะรู้ว่าสัญญาแต่ละประเภทมีภาระภาษีอย่างไร ? ไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขายสัญญาจ้างทำของ สัญญาเหมาเบ็ดเสร็จ (Turnkey contract) สัญญาให้เช่าช่วยเหลือทางเทคนิค ( Technical Assisstance Agreement) สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ( Licensing Agreement) สัญญาร่วมค้า ( Joint Agreement) สัญญากลุ่มบริษัท ( Consortium Contract) และควรจะรู้ต่อไปว่าคู่สัญญาฝ่ายใดเป็น ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีและหักภาษี ณ ที่จ่าย นอกจากนี้ควรจะรู้ว่ามีสัญญาอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีหรือได้รับการลดภาษี
    5. ผู้วางแผนควรจะรู้บัญชีภาษีอากร ( Tax Accounting ) เพราะในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มต้องใช้บัญชีภาษีอากร จะใช้รับบัญชีการ เงิน ( FinancialAccounting)ไม่ได้บัญชีภาษีอากรเป็นบัญชีที่กำหนดโดยภาษีอากรเช่นประมวลรัษฎากรต่างจากบัญชีการเงินฉะนั้นกำไรหรือขาดทุนที่ปรากฏ อยู่ในงบกำไรขาดทุนซึ่งทำขึ้นตามหลักบัญชีการเงินจึงยังใช้เสียภาษีไม่ได้ต้องมีการปรับปรุง(Adust)ให้เป็นไปตามหลักบัญชีภาษีอากรซึ่งบัญญัติไว้ในประมวล
     รัษฎากร มาตรา 65, 65 ทวิ และ 65 ตรี
    6. ผู้เสียภาษีควรจะทำบัญชีและเก็บรักษาบัญชีพร้อมเอกสารประกอบการลงบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นอาจได้รับโทษทางอาญา และต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น เช่น เจ้าพนักงานประเมินอาจจะใช้อำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) แม้บริษัทผู้เสียภาษี จะขาดทุนก็ตาม
    การดำเนินคดีในศาลแพ่งแผนกภาษีอากรแตกต่างกับคดีการดำเนินคดีทั่วไปอย่างไร
     
    การดำเนินคดีในศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร มีวิธีพิจารณาพิเศษ แตกต่างไปจากคดีแพ่งธรรมดาโดยทั่วไปค่อนข้างเยอะเอาการอยู่ กล่าวคือ จะต้องใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากรที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งออกโดย อนุมัติประธานศาลฎีกา ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าว ก็ให้นำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
     
    คราวนี้เรามาดูกันว่า ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีประเภทไปกันบ้าง
     ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งในเรื่องดังกล่าวต่อไปนี้
    1 คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการเกี่ยวกับภาษีอากร
    2 คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร
    3 คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร
    4 คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อผูกพันซึ่งได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บภาษีอากร
    5 คดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร
     
    อนึ่ง คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตาม ( 1) หากมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรบัญญัติให้คัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้จะฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากรได้ ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเช่นว่านั้นและได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านหรือคำอุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว เช่น การอุทธรณ์การประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มีบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนดให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ ได้รับแจ้งการประเมินจากเจ้าพนักงานประเมิน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอย่างไรแล้วจึงจะอุทธรณ์หรือฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนี้ก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาดังกล่าวก่อน จึงจะฟ้องคดีต่อศาลแพ่งแผนกคดีภาษีอากรได้ (ต้องฟ้องภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
     
    แล้วศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร มีเขตอำนาจเพียงใดกัน มาดูกันครับ
     ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร มีเขตอำนาจตลอดกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี และปทุมธานี ฉะนั้น คดีที่เกิดขึ้นในเขต 6 จังหวัดนี้จะต้องยื่นฟ้องที่ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากรเท่านั้นส่วนคดีทีเกิดขึ้นในเขตจังหวัดอื่นนอกเหนือจาก 6 จังหวัดดังกล่าว ในระหว่างที่ยังไม่มี ศาลภาษีอากรจังหวัดในท้องที่นั้น ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร มีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โดยโจทย์จะยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร หรือยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ก็ได้ จึงกล่าวได้ว่าศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักรเลยทีเดียว จนกว่าจะม ี การจัดศาลภาษีอากรจังหวัดขึ้น
     
    แล้วถ้ากรณีที่โจทย์ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดละ การดำเนินกระบวนพิจารณาจะเป็นอย่างไร ในกรณี ก็ไม่ยากครับ เพราะกรณีที่โจทย์ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่จำเลยมีภูมิลำเนา ศาลจังหวัดจะจัดทำสำเนาคำฟ้องไว้ 1 ชุดแล้วแจ้งพร้อมกับต้นฉบับคำฟ้องไปยังศาลแพ่งแผนกคดีภาษีอากร โดยเร็ว เมื่อศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร สั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งจะกำหนดว่าศาล จะออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องบที่นั้นหรือจะให้นั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร เมื่อศาลจังหวัดที่โจทย์ยื่นฟ้องได้รับแจ้งคำสั่งรับคดีจากศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากรแล้ว กระบวนการพิจารณาต่อจากนั้นจนถึงก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการ ชี้สองสถาน ศาลจังหวัดดังกล่าวจะเป็นผู้ดำเนินการแทน เว้นแต่ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากรจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เมื่อโจทย์ได้รับแจ้งคำสั่งรับคดีของศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร จากศาลจังหวัดแล้ว โจทย์จะต้องนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องภายใน 7 วัน
    เมื่อถูกฟ้องแล้วจำเลยก็ยื่นคำให้การและฟ้องแย้งต้องยื่นเมื่อใด
     เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำฟ้องแล้ว จะต้องยื่นคำให้การภายใน 15 วัน จึงต่างกับคดีแพ่งธรรมดา ถ้าจำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การ โจทก์จะต้องทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้สำเนาคำให้การถึงโจทก์ ศาลที่คู่ความจะต้องยื่นคำให้การ ฟ้องแย้ง และคำให้การแก้ฟ้องแย้งไดแก่ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร ในกรณีที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร ศาลจังหวัดที่โจทก์ยื่นฟ้องเนื่องจากจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ เว้นแต่ ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
     
    เรามาดูหลักการชี้สองสถานในคดีภาษีอากรกันต่อเลยครับ
     เมื่อมีการยื่นคำฟ้อง คำให้การ และคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ถ้าหากมีแล้ว ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร จะทำการชี้สองสถาน โดยแจ้งกำหนดวันนัดชี้สองสถานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน (เว้นแต่ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีการชี้สองสถานในกรณีที่ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร เห็นว่าไม่จำเป็น ต้องมีการชี้สองสถาน) และจำเป็นต้องสืบพยานศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร จะแจ้งกำหนดวันนัดสืบพยานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ในกรณีที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่จำเลยมีภูมิลำเนา ศาลแพ่งแผนกคดีภาษีอากร จะเป็นผู้กำหนดว่าจะมีการชี้สองสถานหรือไม่ ศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร จะแจ้งวันนัดชี้สองสถานหรือวันนัดสืบพยาน แล้วแต่กรณี ให้ศาลจังหวัดทราบเพื่อแจ้งให้คู่ความทราบต่อไป หากศาลแพ่ง แผนกคดีภาษีอากร แจ้งให้คู่ความทราบโดยตรง ก็จะแจ้งให้ศาลจังหวัดทราบด้วย
     
    คดีภาษีอากรต้องยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ อย่างไร มาดูกันครับ
     คดีภาษีอากรต้องยื่นบัญชีระบุพยานเช่นเดียวกับคดีแพ่งธรรมดา แต่แทนที่จะยื่นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันดังเช่นคดีแพ่งธรรมดา คู่ความจะต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานไม่น้องกว่า 7 วัน พร้อมทั้งสำเนาในจำนวนที่เพียงพอเพื่อให้คู่ความฝ่ายอื่นหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมารับไปโดยทางเจ้าพนักงานศาล
    ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน คู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานพร้อมทั้งสำเนาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวจะสิ้นสุดลง ถ้าคู่ความฝ่ายใดประสงค์จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ก็ให้ทำเป็นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลพร้อมกับระบุพยานเพิ่มเติม เมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้บัญชีระบุพยานดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้ว ถ้าคู่ความซึ่งยังมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานหรือบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ประสงค์จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม แล้วแต่กรณีก็อาจทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล ขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานหรือบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ทั้งนี้จะต้อง แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้หรือถ้าเป็นกรณีขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม
     จะต้องแสดงได้ว่าตนไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตน หรือไม่ทราบว่าพยานหลักฐานบางอย่างได้มีอยู่ หรือมีเหตุอันสมควรอื่นใด ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ศาลก็จะอนุญาตตามคำร้อง แต่ก็มีหลายๆ ครั้งที่ศาลมีความเห็นว่าอยู่ในเหตุ ในผลที่จะอนุญาต ดังนั้น คู่ความต้องรอบคอบให้เยอะที่สุดจะเป็นการดีละครับ
     
    มาดูเรื่องต้นฉบับพยานเอกสารและพยานวัตถุ ว่าต้องยื่นต่อศาลกันเมื่อใด
     ในกรณีที่มีการชี้สองสถานคู่ความจะต้องยื่นต้นฉบับพยานเอกสารทั้งหมดที่ประสงค์จะอ้างอิงและอยู่ในความครอบครองของตนและพยานวัตถุอันเป็นพยาน
     หลักฐานสำคัญที่อยู่ในความครอบครองของตนและสามารถนำมาศาลได้ต่อศาลพร้อมกับการยื่นบัญชีระบุพยานมิฉะนั้นคู่ความนั้นไม่มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐาน
     นั้นมาสืบภายหลังเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลเมื่อคู่ความดังกล่าวสามารถแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลถึงเหตุที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้เพราะ
     เหตุสุดวิสัย(ใช้กันประจำ)หรือเมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีและเพื่อประโยชน์แห่ง
     ความยุติธรรมจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถานและมีการสืบพยานคู่ความคงปฏิบัติตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมาย
     วิธีพิจารณาความแพ่ง
     
    ถ้าหากพยานเอกสารหรือพยานวัตถุอยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่นหรือบุคคลภายนอกจะต้องดำเนินการอย่างไร
     ในกรณีที่มีการชี้สองสถาน หากพยานเอกสารหรือพยานวัตถุอยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่นหรือบุคคลภายนอก คู่ความฝ่ายที่ประสงค์จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้น
     อาจขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกพยานหลักฐานดังกล่าวมาจากผู้ครอบครอง โดยยื่นคำขอต่อศาลพร้อมกับการยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานนั่นมาก่อนวันชี้สองสถานหรือภายในเวลาที่ศาลกำหนด ( พูดง่ายๆ ไม่ให้ดู ก็ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาซะเลย แฮ่...ๆๆ) ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน คู่ความคงปฏิบัติตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
     
    แล้วการชี้สองสถานหมายถึงอะไร ศาลจะดำเนินกระกวนพิจารณาอย่างไร สงสัยกันละซิ
     ในการชี้สองสถานนั้น ศาลจะนำข้ออ้าง ข้อเถียง ที่ปรากฏในในคำคู่ความเทียบกันดู และสอบถามคู่ความทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียงและพยานหลักฐานที่ยื่นต่อศาลว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้างข้อเถียงนั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใดที่คู่ความยอมรับก็เป็นอันยุติไปตามนั้น ส่วนข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับและเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นตามคำคู่ความ ให้ศาลกำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้ ในการสอบถามคู่ความดังกล่าว คู่ความแต่ละฝ่ายต้องตอบคำถามที่ศาลถามเอง หรือถามตามคำขอของคู่ความฝ่ายอื่นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายอื่นยกขึ้นเป็นข้ออ้างข้อเถียงและพยานหลักฐานต่างๆ ที่ยื่นต่อศาลถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใดให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่ศาลเห็นว่าคู่ความฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบได้ในขณะนั้น ศาลจะอนุญาตให้เสนอคำตอบในภายหลัง โดยเลื่อนการชี้สองสถานเฉพาะส่วนที่ยังไม่เสร็จสิ้นดังกล่าวออกไปได้
     
    คู่ความไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน เราจะทำอย่างไร แล้วศาลละ จะดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไร
    ถ้าคู่ความทุกฝ่ายหรือแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ศาลจะชี้สองสถานไปทีเดียวหรือจะเลื่อนการชี้สองสถานไปเพื่อให้คู่ความมาศาลพร้อมกันก็ได้ในกรณีที่ศาลทำการชี้สองสถานไปทีเดียว ให้ถือว่าคู่ความที่ไม่มาศาลทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว และไม่มีสิทธิโต้แย้งคัดค้านประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นำสืบที่ศาลกำหนด (ดี...สม แฮ่.....ๆ)
     
    การขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นจะต้องปฏิบัติอย่างไร
     ศาลอาจขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีได้โดยทำเป็นหนังสือเชิญตามแบบพิมพ์ ภษ. 2 ท้ายข้อกำหนดคดีภาษีอากรเมื่อผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่ศาลขอให้มาได้ให้ความเห็นแล้ว คู่ความมีสิทธิขอให้ศาลออกหมายเรียกผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญฝ่ายตนมาให้ความเห็นโต้แย้งหรือเพิ่มเติมความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ
     ที่ศาลขอให้มาได้ หมายเรียกนี้ต้องทำเป็นหนังสือตามแบบพิมพ์ ภษ. 3 ท้ายข้อกำหนดคดีภาษีอากร
     
    คู่ความจะแต่งตั้งบุคคลอื่นให้รับคำคู่ความหรือเอกสารแทนตนได้หรือไม่ ?
    ในการรับคำคู่ความหรือเอกสาร คู่ความมีสิทธิยื่นคำขอต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้น เพื่อขออนุญาตแต่งตั้งบุคคลใดที่มีภูมิลำเนาในเขตอำนาจศาลนั้นเป็นผู้รับคำคู่ความหรือเอกสารแทนตน ซึ่งการแต่งตั้งนี้จะต้องทำเป็นหนังสือตามแบบพิมพ์ ภษ. 1 ท้ายข้อกำหนดคดีภาษีอากร (คู่ความบางราย ใช้แบบพิมพ์ผิดบ่อยมากๆ)
     
    ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความแต่งตั้งบุคคลอื่นเพื่อรับคำคู่ความแทนหรือไม่ ?
    ถ้าคู่ความไม่มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานในเขตอำนาจศาลที่พิจารณาคดีนั้น ศาลนั้นอาจสั่งให้คู่ความแต่งตั้งบุคคลที่มีภูมิลำเนาในเขตอำนาจศาลนั้นซึ่งจะเป็นการสะดวกในการส่งคำคู่ความหรือเอกสารภายในเวลาที่ศาลกำหนด เพื่อรับคำคู่ความหรือเอกสารแทน ซึ่งการแต่งตั้งนี้จะต้องทำเป็นหนังสือตามแบบพิมพ์ ภษ 1. ท้ายข้อกำหนดคดีภาษีอากร ถ้าคู่ความไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลดังกล่าว การส่งคำคู่ความหรือเอกสารจะกระทำโดยวิธีการปิดประกาศไว้ ณ ศาลที่พิจารณาคดีแจ้งให้คู่ความมารับคำคู่ความหรือเอกสารแทนการส่งโดยวิธีอื่นก็ได้ การส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีเช่นว่านี้จะมีผลใช้ได้เมื่อพ้น 7 วัน นับแต่วันปิดประกาศ
     
    การส่งคำคู่ความหรือเอกสารแก่บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจะต้องทำอย่างไร
     การส่งคำคู่ความหรือเอกสารแก่บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจะต้องกระทำเช่นเดียวกับการส่งคำคู่ความหรือเอกสารแก่คู่ความ หรือการส่งโดยวิธีอื่นแทน ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การส่งคำคู่ความหรือเอกสารแก่บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวให้มีผลใช้ได้เมื่อพ้น 7 วันนับแต่วันส่งหรือ 15 วันนับแต่วันที่ได้มีการส่งโดยวิธีอื่น
     
    คู่ความไม่มาศาลตามกำหนดนัดมีผลอย่างไร
     เมื่อศาลแจ้งกำหนดนัดพิจารณาให้คู่ความฝ่ายใดทราบแล้ว คู่ความฝ่ายนั้นไม่มาศาลตามกำหนดนัด ก็เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายนั้นมารับทราบกำหนดนัดต่อไปจากศาลเอง หากไม่มารับทราบ ก็ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบกำหนดนัดต่อไปแล้ว
     
    คดีภาษีอากรที่มีการยื่นฟ้องก่อนวันที่ 25 มีนาคม 2529 จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไร
     คดีภาษีอากรที่มีการยื่นฟ้องก่อนวันที่ 25 มีนาคม 2529 คงดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างคดีแพ่งธรรมดาต่อไปตามปรกติ ไม่มีการโอนไปดำเนินกระบวนพิจารณาในแผนกคดีภาษีอากรในศาลแพ่ง และอาจอุทธรณ์และฎีกาต่อศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงต่างกับคดีภาษีอากรที่ยื่นฟ้องตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2529 ที่ไม่ต้องอุทธรณ์ผ่านศาลอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ตรงไปยังศาลฎีกา และการดำเนินกระบวนพิจารณาก็ต้องใช้วิธีพิจารณาพิเศษตามที่กล่าวมาแล้ว
     
    กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ