0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 439 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-04-22
จำนวนครั้งที่ชม : 7,634,209 ครั้ง
Online : 20 คน
Photo

    การดำเนินคดีแรงงาน


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2018-11-22 14:22:04 (IP : , ,1.47.101.209 ,, Admin)
    การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงาน
     
    ลักษณะพิเศษของการดำเนินคดีแรงงาน
    การดำเนินคดีแรงงาน โจทก์และจำเลยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าการฟ้อง การส่งหมาย การสืบพยาน หรือการบังคับคดี โดยเฉพาะการสืบพยานที่ศาลแรงงานเรียกมา ศาลจะเป็น ผู้จ่ายค่าป่วยการ ค่าพาหนะ และค่าเช่าที่พักให้แก่พยานเอง
     
    การพิจารณาคดีแรงงาน ศาลจะกระทำด้วยความรวดเร็ว ฉะนั้นโจทก์และจำเลยจึงควรเตรียม พยานหลักฐาน(ถ้ามี) ให้พร้อมไว้และควรไปศาลตามกำหนดนัดทุกครั้ง เพื่อให้ศาลพิจารณาได้ทันที
     
    การดำเนินคดีในศาลแรงงานนั้น ศาลจะพยายามไกล่เกลี่ยให้โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีกันต่อไป โดยไม่มีฝ่ายใดได้ชื่อว่าเป็นฝ่ายแพ้หรือฝ่ายชนะ โจทก์และจำเลยจึงควรเข้าใจ และให้ความร่วมมือกับวิธีการของศาลเช่นว่านี้ โดยละเสียซึ่งทิฐิมานะและพร้อมที่จะรับข้อเสนอที่สมควรของอีกฝ่ายหนึ่งหรือของศาลได้ตลอดเวลา
     
    ขั้นตอนในการดำเนินคดี
    นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้มีสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายหรือผู้กระทำการแทน หากประสงค์จะเป็นโจทก์ฟ้องคดีก็อาจยื่นฟ้องโดยทำเป็นหนังสือหรือมาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อหน้าศาล
     
    เมื่อศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว จะกำหนดวันพิจารณา ออกหมายเรียกจำเลย และนัดโจทก์ให้มาศาลในวันดังกล่าว
    เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำฟ้องไว้แล้ว จะยื่นคำให้การก่อนวันนัดพิจารณาหรือไปให้การในวันนัดทีเดียวก็ได้
     
    ในวันนัดพิจารณา ทั้งสองฝ่ายต้องมาศาล ถ้าโจทก์ไม่มาศาลจะจำหน่ายคดี แต่ถ้าจำเลยไม่มา ศาลจะพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว ในกรณีที่โจทก์และจำเลยมาพร้อมกัน ศาลจะพยายามไกล่เกลี่ยเพื่อให้โจทก์และจำเลยได้ตกลงกัน ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็จะกำหนดว่ามีประเด็นข้อพิพาทอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งกำหนดให้โจทก์และจำเลยนำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริง ต่อไป
    ในการสืบพยาน ศาลจะดำเนินการติดต่อกันไปจนเสร็จคดี หากมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อน ก็จะเลื่อนได้ครั้งหนึ่งไม่เกินเจ็ดวัน
     
    เมื่อสืบพยานเสร็จแล้ว โจทก์และจำเลยอาจแถลงการณ์ด้วยวาจาเพื่อให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่สำคัญซึ่งได้นำสืบหรืออ้างอิงมา ศาลจะทำคำพิพากษาแล้วอ่านคำพิพากษานั้นโดยเร็ว ทั้งนี้ ภายในสามวันนับแต่วันสืบพยานเสร็จ
     
    การอุทธรณ์คดีแรงงาน
    คดีแรงงานนั้นอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง จะอุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมาย ซึ่งได้แก่การคัดค้านว่าตัวบทกฎหมายที่ศาลแรงงานยกขึ้นอ้างอิงตีความ หรือนำมาปรับใช้กับเรื่องที่พิพาทกันอยู่นั้นไม่ถูกต้อง ส่วนปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งได้แก่พฤติการณ์หรือพยานหลักฐานต่าง ๆ ของคดีว่ามีอยู่หรือเป็นอย่างไรนั้น จะอุทธรณ์ว่ามีอยู่หรือเป็นอย่างอื่นผิดไปจากศาลแรงงานวินิจฉัยไว้ไม่ได้ 
     
    ขั้นตอนการอุทธรณ์
     
    หลักเกณฑ์การอุทธรณ์
     
    ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน หมวด 4 อุทธรณ์ มาตรา 54 กำหนดหลักเกณฑ์ว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานให้อุทธรณ์ได้ เฉพาะในข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น
     
    การอุทธรณ์นั้น ให้ทำเป็นหนังสือต่อศาลแรงงาน ซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และให้ศาลแรงงานส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ฝ่ายนั้นได้รับสำเนาอุทธรณ์
     
    เมื่อได้มีการแก้อุทธรณ์แล้ว หรือไม่แก้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลแรงงานกลางกำหนด ให้ศาลแรงงานรีบส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา มาตรา 55 การยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลแรงงาน แต่คู่ความที่ยื่นอุทธรณ์อาจทำคำขอยื่นต่อศาลแรงงาน ซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยชี้แจงเหตุผลอันสมควร เพื่อให้ศาลฎีกาสั่งทุเลาการบังคับไว้ได้
     
    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลฎีกา โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา หรือหาหลักประกันไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้ง มาตรา 31 ที่ว่าให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม
     
    ขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เมื่อมีคำฟ้องอุทธรณ์
    เมื่อมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งยื่นเข้ามา สิ่งที่จะต้องตรวจก็คือ
    1.  อุทธรณ์หรือคำสั่งนั้น ได้มีการยื่นเข้ามาภายในกำหนด 15 วันหรือไม่
    2.  มีการขอขยายระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่ง และได้ยื่นเข้ามาภายในกำหนดหรือไม่
    3.  วันที่ยื่นอุทธรณ์ตรงกับวันเดือนปีปัจจุบันหรือไม่
    4.  ท้ายอุทธรณ์มีการลงลายมือชื่อ ผู้ยื่นอุทธรณ์หรือไม่
    5.  เรียกเก็บสำเนาอุทธรณ์ให้ครบตามจำนวนคู่ความ
    ในกรณีอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ต้องตรวจดูว่าคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสีย ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายใน 15 วันหรือไม่ และต้องให้ผู้ยื่นวางเงินตามคำพิพากษาหรือหาหลักประกันมาวางต่อศาล
     
    ขั้นตอนการวางหลักประกัน
    1. กรณีวางเงินสด นำคำร้องขอวางเงินยื่นขอวางเงินได้ที่งานการเงิน
    2. กรณีวางหลักประกันอื่น
    วางโฉนดที่ดิน คู่ความต้องนำโฉนดที่ดินตัวจริง หนังสือประเมินจากกรมที่ดิน พร้อมสำเนาโฉนดที่ดินและสำเนาหนังสือประเมินจากกรมที่ดิน สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวมาแสดงด้วยพร้อมทั้งทำหนังสือสัญญาประกันต่อศาล ถ้าเจ้าของที่ดินไม่สามารถมาทำหนังสือสัญญาประกันต่อศาลได้ ก็ต้องทำหนังสือมอบอำนาจพร้อมทั้งนำสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชนมาแสดงต่อศาลด้วย
     
    วางบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือเงินฝากประจำ นำสมุดบัญชีคู่ฝาก พร้อมหนังสือรับรองจากธนาคารเพื่อยืนยัดยอดเงินในบัญชีและอายัดเงินในสมุดบัญชีคู่ฝาก พร้อมทั้งนำสำเนาสมุดบัญชีคู่ฝากและสำเนาหนังสือรับรองจากธนาคาร
     
    เมื่อมีคำสั่งอุทธรณ์ถูกต้องแล้ว ประทับตรารับฟ้องแล้วนำลงบัญชีสารบบอุทธรณ์ จากนั้นเบิกสำนวนจากงานเก็บแดง หรืองานส่วนช่วยพิจารณาคดี แล้วนำเสนอผู้พิพากษาสั่ง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้วลงผลคำสั่ง แล้วส่งไปออกหมาย
    กรณีที่มีการยื่นคำร้อง หรือคำแก้อุทธรณ์ ปฏิบัติเช่นเดียวกับอุทธรณ์


    Please login for write message