0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 438 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-04-17
จำนวนครั้งที่ชม : 7,603,084 ครั้ง
Online : 54 คน
Photo

    เลิกบริษัทหนีหนี้ ดำเนินคดีผู้ชำระบัญชี


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2021-10-01 12:23:21 (IP : , ,49.49.249.46 ,, Admin)
    เลิกบริษัทไม่ถูกต้อง ดำเนินคดีกับผู้ชำระบัญชี
              เมื่อมีการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาแล้ว บทถึงเวลาจะเลิกขึ้นมาไม่ใช่เรื่องง่ายเลย หากทำไปโดยพละการ หรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ ไปเชื่อข้อมูลของนักกฎหมายหรือนักบัญชีที่ไม่รู้จริงในเรื่องกฎหมายห้างหุ้นส่วนบริษัท อาจทำให้กรรมการนั้นถึงขั้นติดคุกได้เลยทีเดียว วันนี้ผม ก็ยังคงมีเรื่องจริงจากคดีจริงมาเล่าให้ท่านฟังเช่นเคย เรื่องมีอยู่ว่า  มีบริษัท แห่งหนึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นมาประกอบกิจการไปตามปกติ ในระหว่างที่ประกอบกิจการอยู่ได้ไปกู้เงินจากธนาคารมา และ นำที่ดินซึ่งเป็นชื่อของบริษัทเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไปจดทะเบียนจำนองไว้กับธนาคารด้วย และ ต่อมาไม่ทราบว่าจากเหตุผลกลใด บริษัทปิดกิจการ จดทะเบียนเลิกบริษัท และ จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น บริษัท ยังไม่ได้ชำระหนี้ธนาคารให้เสร็จสิ้นไป และที่ดินก็ยังติดจำนองอยู่กับธนาคาร ธนาคารตรวจสอบทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียนเลิกบริษัท และ จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้วเมื่อเวลาล่วงไปแล้ว ประมาณ 5 ปีกว่าๆแล้ว อันนี้ทำให้ธนาคารก็อึ้งไปพักนึงเพราะว่าโดยปกติแล้วถ้าชำระหนี้ของบริษัทยังไม่เสร็จสิ้น จะจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีไม่ได้
    เมื่อบริษัทจำกัดเลิกกัน(จดทะเบียนเลิก) กรรมการย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีโดยตำแหน่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1251 เว้นแต่ที่ประชุมหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (และ 99.99%) บริษัททั่วไปไม่ได้ทำสัญญาไว้เป็นอย่างอื่นแน่นอนครับ ดังนั้น เมื่อบริษัทเลิกเมื่อใด 99.99% ก็กรรมการผู้จัดการนั่นแหละครับเป็นผู้ชำระบัญชี
    หน้าที่ของผู้ชำระบัญชีคือชำระหนี้ของบริษัทให้เสร็จสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา มาตรา 1250 และ มาตรา 1259 (1) ถึง (4) และ มีหน้าที่ต้องประกาศแจ้งทางหนังสือพิมพ์และส่งจดหมายบอกล่าวไปยังเจ้าหนี้ของบริษัทให้แสดงเจตนารับชำระหนี้หรือคัดค้านการเลิกบริษัท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1253
    เมื่อได้มีการประกาศหนังสือพิมพ์และส่งจดหมายถึงเจ้าหนี้ดังกล่าวข้างต้นแล้ว หากเจ้าหนี้ไม่แสดงเจตนาที่จะรับชำระหนี้ ผู้ชำระบัญชีต้องนำเงินที่เป็นหนี้แก่เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ยไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ไม่เช่นนั้น จะยังถือว่าไม่ได้ชำระหนี้ของบริษัทให้เสร็จสิ้นไปและจะจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1264 และ หากมีหนี้สินแล้วแต่ทรัพย์สินของบริษัทมีไม่พอชำระหนี้ ผู้ชำระบัญชีต้องร้องต่อศาลเพื่อขอให้บริษัทล้มละลาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1266
    กรรมการหรือผู้ชำระบัญชีหากไม่ได้ทำดังนี้ ก็จะจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีไม่ได้ เพราะถือว่ายังชำระบัญชีไม่เสร็จ ถ้ากรรมการสามารถจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีได้โดยไม่ได้กระทำการดังที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น แสดงว่าผู้ชำระบัญชีนั้น แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน (นายทะเบียนผู้รับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี) ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารมหาชน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267  มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้งยังเป็นการกระทำลงข้อความเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชี หรือเอกสารของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และ  มูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 (2) มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
    ในคดีแพ่งเพื่อเรียกหนี้จากบริษัท หรือ จากผู้ชำระบัญชีแม้จะห้ามไม่ให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันสิ้นสุดการชำระบัญชี แต่ถ้าผู้ชำระบัญชีละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 ซึ่งมีอายุความ 1 ปีนับแต่เมื่อรู้ตัวผู้กระทำละเมิด และ มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่กระทำละเมิด และ อีกทั้งอายุความคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 และ ตามพระราชพระราชบัญญัติกำหนดความผิดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และ มูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 (2) มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี นั้นมีอายุความถึง 10 ปี
    กรณีแบบนี้เจ้าหนี้ถือว่าเป็นผู้เสียหายจากการกระทำของผู้ชำระบัญชีโดยตรง เนื่องจากยังไม่ได้รับชำระหนี้ครับ
    อันว่าบริษัทจำกัด จริงอยู่มันคือบริษัทของเรา  เราย่อมทำอะไรก็ได้ แต่ก็เพียงเท่าที่ไม่กระทบสิทธิของผู้อื่น และ ก็ต้องทำให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดนะครับ ไม่เช่นนั้น เพียงแค่เลิกบริษัท ทั้งที่เป็นบริษัทของเราเอง แต่กลับต้องติดคุก
     



    Please login for write message