0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 439 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-04-22
จำนวนครั้งที่ชม : 7,634,138 ครั้ง
Online : 29 คน
Photo

    คดีแพ่ง


    การดำเนินคดีแพ่ง
    (Admin)
    เมื่อ » 2013-01-11 00:07:32 (IP : , ,110.169.191.122 ,, Admin Post)
    Admin Edit : 2018-01-03 22:29:50
    คดีแพ่ง  คือ อะไร
                  คดีแพ่ง คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง เช่น การฟ้องให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญากู้ หรือการฟ้องให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหาย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของการฟ้องคดีแพ่งมุ่งให้จำเลยชำระเงิน หรือ ชดใช้ค่าเสียหาย มิได้มุ่งจะให้จำเลยต้องถูกลงโทษ เช่น จำคุก
    ตามกฎหมายอาญา
                   คดีแพ่ง นอกจากเป็นเรื่องพิพาทกันดังกล่าวแล้ว อาจเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลเพื่อรับรองคุ้มครองสิทธิของตน เช่น การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งถึอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท
     ในการดำเนินคดี โจทก์หรือจำเลยซึ่งถือเป็น "ตัวความ" หากไม่ต้องการที่จะดำเนินคดีด้วยตนเองก็อาจแต่งตั้งให้ทนายความกระทำแทนได้ ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวความที่แต่งตั้งตน
                   การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นตอนซับซ้อน หากดำเนินการผิดพลาดจะส่งผลเสียแก่คดี โจทก์และจำเลยจึงควรแต่งตั้งทนายความกระทำแทน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและรัดกุมในการดำเนินคดี เนื่องจากทนายความเป็นผู้มีวิชาชีพทางกฎหมายย่อมรู้ขั้นตอนหรือกระบวนพิจารณาต่างๆ ดีกว่าบุคคลทั่วไป
    ข้อควรทราบ
                   1.เมื่อมีการแต่งตั้งให้ทนายความกระทำการแทนแล้ว สิ่งที่ทนายความกระทำในกระบวนพิจารณาของศาลจะผูกพันตัวความคือ โจทก์ จำเลย โดยถือว่าโจทก์จำเลยยินยอมและรับทราบด้วยแล้ว การป้องกันไม่ให้ทนายความไปกระทำการเสียหาย อาจทำได้โดยการจำกัดอำนาจกระทำการของทนายความในใบแต่งทนายความด้วยการเขียนระบุอำนาจกระทำการของทนายความในใบแต่งทนายความด้วยการเขียนระบุอำนาจกระทำการของทนายความไว้ให้ชัดเจนว่าเฉพาะกิจการใดให้มีอำนาจกระทำการแทน
                   2.การตกลงคิดค่าจ้างว่าความจากทรัพย์สินที่พิพาทกัน เช่น ร้อยละ 5 ของทรัพย์สินที่จะได้รับ เป็นการตกลงให้ทนายความเข้าทีส่วนได้เสียโดยตรงในผลของคดี ถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะ
                   3.ตัวความสามารถร้องเรียนทนายความที่ประพฤติผิดมรรยาทได้ที่คณะกรรมการมรรยาททนายความ สภาทนายความ
          
                 อย่างไรก็ตาม คดีทุกเรื่องไม่จำเป็นต้องมีทนายความเสมอไป หากตัวความเห็นว่าพอจะดำเนินการเองได้ เช่น ร่างคำฟ้อง ร่างคำร้อง หรือซักถามพยานก็สามารถทำเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินคดีแทนได้ แต่ข้อควรระวัง คือ นอกจากตัวความและผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคีดแทนแล้ว บุคคลที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความจะเรียงฟ้อง หรือ ว่าความไม่ได้ หากฝ่าฝืนจะผิดตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528
    บุคคลที่มีสิทธินำคดีแพ่งขึ้นฟ้องร้องต่อศาลจะต้องมีเหตุตามกฎหมายกำหนดไว้ 2 ประการ คือ
                 1. การโต้แย้งสิทธิ 
                 2. การต้องใช้สิทธิ่ทางศาล 

                 1. การโต้แย้งสิทธิ หมายถึง การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทบกระเทือนหรือละเมิดต่อสิทธิที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมายของบุคคลอื่น สิทธินี้มิได้หมายถึงสิทธิในทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยังหมายความถึงสิทธิอื่นๆ ด้วย เช่น สิทธิในชีวิตร่างกาย สิทธิในครอบครัว สิทธิในเกียรติยศ ชื่อเสียง
                  เป็นการโต้แย้งสิทธิและต้องฟ้องผู้อื่นเป็นจำเลย เรียกว่า คดีมีข้อพิพาท

                  2. การต้องใช้สิทธิทางศาล หมายถึง กรณีที่กฎหมายกำหนดให้การกระทำบางอย่างต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับการรับรองจากศาลก่อน เช่น การขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย การขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ การขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ การขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ สาบสูญ  การขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นต้น

                 ผู้ขอไม่ต้องฟ้องใครเป็นจำเลย เพียงแต่ยื่นคำร้องขอต่อศาลเท่านั้นและศาลจะนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง เรียกว่า คดีไม่มีข้อพิพาท
    ผู้ฟ้องคดีหรืออาจถูกฟ้องคดีได้
    1. บุคคลธรรมดา
                      2. นิติบุคคล

                     1. บุคคลธรรมดา ได้แก่ มนุษย์หรือคนซึ่งเมื่อมีสภาพบุคคลก็มีสิทธิและหน้าที่ จึงอาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยได้
                      ตำแหน่งหน้าที่ราชการบางตำแหน่งรวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการด้วย เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยได้เช่นกัน
                      กรณีผู้เยาว์ ถ้าจะฟ้องคดีอาจแยกเป็น 2 กรณี คือ
                           - กรณีผู้เเทนโดยชอบธรรมฟ้องคดีแทนผู้เยาว์
                           - กรณีผู้เยาว์ฟ้องคดีเองซึ่งได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
                      แต่ถ้าผู้เยาว์ถูกฟ้องคดี ผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องเข้าดำเนินคดีแทน
                  
                    2. นิติบุคคล  การจะเป็นนิติบุคคลได้ต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองไว้ เช่น บริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ่นส่วนจำกัด สมาคม มูลนิธิ หน่วยงานราชการ (กระทรวง ทบวง กรม) วัดที่ได้พระราชทานวิสุงคามสีมา รัฐวิสาหกิจ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล มหาวิทยาลัย จังหวัด กองทัพอากาศ กองทัพเรือ เป็นต้น
                     สิ่งที่ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล เช่น รัฐบาล หน่วยงานราชการที่มีฐานะเป็นกอง สำนักสงฆ์ อำเภอ สุเหร่า ชมรม กลุ่มหรือคณะบุคคล เป็นต้น ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองให้มีสถานะเป็นนิติบุคคล ดังนั้น จึงไม่อาจเป็นโจทก์ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยได้
    การฟ้องจะฟ้องที่ศาลใด
    1.พิจารณาจากประเภทของคดีก่อนว่าอยู่ในอำนาจของศาลใด
    2.พิจารณาทุนทรัพย์ของคดีว่าอยู่ในอำนาจศาลจังหวัดหรือศาลแขวง
           คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัด

                ศาลจังหวัดมีอำนาจทั่วไปที่จะชำระคดีได้ทุกประเภทในส่วนของคดีแพ่ง มีเงื่อนไขดังนี้
                1. คดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์ที่พิพาทเกินกว่า 300,000 บาท
                2. คดีที่ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เช่น การฟ้องขับไล่
                3. คดีที่ไม่มีข้อพิพาท เช่น คดีขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครอง คดีขอเป็นผู้จัดการมรดก
    คดีขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญเป็นต้น
               คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง
               ศาลแขวงมีอำนาจชำระคดีเล็กๆ น้อยๆ ที่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวในส่วนของคดีแพ่ง เป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกิน300,000บาทอนึ่ง  
               1.ในจังหวัดเดียวกันอาจมีศาลจังหวัดหลายศาลเช่นจังหวัดชลบุรีมีศาลจังหวัดพัทยา และศาลจังหวัดพัทยา เป็นต้น
                2. การจะฟ้องคดีที่ศาลใด พิจารณาจากเขตอำนาจศาลนั้นๆ เช่น ฟ้องเรียกเงินกู้ พิจารณาว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลใดหรือมูลคดีเกิดในเขตศาลใดก็ฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
                     ตัวอย่าง จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดชลบุรี แต่โจทก์และจำเลยไปทำสัญญากู้ยืมเงินกัน (มูลคดีเกิด) ในท้องที่เขตอำนาจศาลจังหวัดพัทยา โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลย หรือที่ศาลจังหวัดพัทยาซึ่งเป็นที่มูลคดีเกิดก็ได้ตามแต่จะเลือก ส่วนการจะเสนอคดีต่อศาลจังหวัดหรือศาลแขวงพิจารณาจากจำนวนทุนทรัพย์ที่พิจารณาในคดี
                3. ในกรุงเทพมหานครมีศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง 4 ศาล คือ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ 
    ศาลแพ่งธนบุรี และศาลจังหวัดมีนบุรี จะฟ้องคดีที่ศาลใดขึ้นอยู่กับเขตอำนาจของศาลนั้น ถ้าทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 300,000 บาท ต้องฟ้องที่ศาลแขวงต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงปทุมวัน ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงพระโขนง
    การเตรียมเอกสารในการฟ้องคดี
    เอกสารที่ต้องจัดเตรียมเมื่อไปติดต่อศาล เช่น
    1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ เช่น หนังสือสัญญา หนังสือบอกกล่าวทวงถาม
    2. หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มอบให้ผู้อื่นกระทำแทน
    3. ใบแต่งทนายความ
    4. รวยละเอียดในการคำนวณยอดหนี้
    5. บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของโจทก์
    6. สำเนาทะเบี่ยนบ้านหรือใบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของจำเลย ไม่ควรเกิน 1 เดือน (จากฐานข้อมูลการ
    ทะเบียน สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
    7. หนังสือรับรองนิติบุคคล (จากสำนักงานหุ้นส่วนบริษัท กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์) ในกรณีที่เกี่ยว
    ข้องกับนิติบุคคล เป็นต้น
    1. ค่าขึ้นศาล
                   คดีที่มีทุนทรัพย์ คือ คดีทีโจทก์เรียกร้องโดยมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนาณเป็นราคาเงินได้  โดยจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องนั้นเป็นทุนทรัพย์
                    สำหรับค่าขึ้นศาลในคดีมีทุนทรัพย์โจทก์ต้องเสียอัตราร้อยละ 2 บาท ของจำนวนทุนทรัพย์ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
                   คดีไม่มีทุนทรัพย์ คือ คดีที่โจทก์มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โดยโจทก์ไม่ได้อ้างหรือเรียกร้องเป็นจำนวนเงินหรือทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง     
                    คำฟ้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ   คิดค่าขึ้นศาลอัตราร้อยละ 1 บาท ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่อนุญาโตตุลาการกำหนดไว้ในคำชี้ขาดแต่ไม่เกิน 80,000 บาท
                     คำฟ้องขอให้บังคับจำนองหรือบังคับเอาทรัพย์สินจำนองหลุด   คิดค่าขึ้นศาลตามจำนวนหนี้ที่เรียกร้องในอัตราร้อยละ 1 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
                     อุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งศาล  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 หรือ 228 เสียค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200  บาท
                      ค่าขึ้นศาลในอนาคต (เกี่ยวกับค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าเสียหาย) เช่น ถ้าไม่ได้ขอดอกเบี้ยก่อนฟ้อง แต่ขอดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันชำระเสร็จ  ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคตอีก 100 บาท
                      ค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้น  ปกติศาลจะคำนวณค่าขึ้นศาลเมื่อโจทก์ยื่นฟ้อง แต่ถ้าต่อมามีการแก้ไขคำฟ้องหรือมีเหตุประการอื่นอันทำให้จำนวนทุนทรัพย์เพิ่มขึ้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น                 
    3. ค่าใช้จ่ายอื่น
                        ในการดำเนินคดีแพ่ง  คู่ความอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก  เช่น  ค่าส่งหมาย ค่าป่วยการและค่าพาหนะพยาน  ค่าทำแผนที่พิพาท  ค่าตรวจเอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญ  เป็นต้น
     
    4. การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
                         ในกรณีที่โจทก์หรือจำเลยเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาล โจทก์หรือจำเลยอาจยื่นคำร้องขออนุญาตยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้ เรียกว่าการฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถา ซึ่งขอได้ทุกระดับชั้นศาล
    เมื่อมีการถูกฟ้องเป็นคดีแพ่ง ควรปฎิบัติดังนี้
                      1. เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลย ควรปรึกษาทนายความและแต่งตั้งทนายความเพื่อว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทน
                      2. เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ จะต้องยื่นคำให้การภายในกำหนด ซึ่งระยะเวลาในการยื่นคำให้การนั้นมีความแตกต่างกัน  ดังนี้
                            - คดีทั่วไป จำเลยต้องทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
                            - คดีมโนสาเร่ เมื่อศาลออกหมายเรียกไปยังจำเลยให้มาศาลและให้จำเลยให้การในวันมาศาล
                            - คดีไม่มีข้อยุ่งยาก ศาลจะกำหนดระยะเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การภายในวันใดวันหนึ่งตามที่ศาลจะเห็นสมควรกำหนดก็ได้
                       3. การนับระยะเวลายื่นคำให้การ จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หรือบุคคลอื่นที่อายุเกิน 20 ปี ซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านหรือที่ทำงานเดียวกับจำเลย รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแทนจำเลย
                        หากเป็นกรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีอื่น เช่น เจ้าหน้าที่ศาลปิดหมายเรียกและสำเนาฟ้องไว้ที่บ้านหรือที่ทำงานของจำเลย หรือประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ การนับระยะเวลาจะเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน นับแต่วันปิด หรือวันประกาศโฆษณา
                         หากจำเลยไม่สามารถยื่นคำให้การภายในกำหนดได้ เช่น มีเอกสารหลักฐานในการต่อสู้คดีจำนวนมาก จำเลยก็อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลขยายระยะเวลายื่นคำให้การได้โดยต้องมีเหตุผลพิเศษอ้างเหตุที่ขอขยายระยะเวลานั้น และเป็นดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาก็ได้
    จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ   หมายถึง  กรณีที่จำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การโดยชอบแล้ว   จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล  และจำเลยมิได้ขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การ  ซึ่งตามกฎหมายจะถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การทันที
                    อย่างไรก็ตาม  แม้จำเลยจะขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การแล้ว  แต่ก็ยังอาจขาดนัดยื่นคำให้การได้   ถ้าศาลไม่อนุญาตขยายระยะเวลาให้ยื่นคำให้การ  เนื่องจากไม่มีเหตุอันสมควร
                    การขาดนัดยื่นคำให้การจะมีได้เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น  ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาไม่มีการขาดนัดยื่นคำให้การ
                    กรณีที่จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนด  โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ฝ่ายโจทก์ชนะคดีเพราะเหตุจำเลยขาดนัดภายใน 15 วัน  นับแต่วันสิ้นกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลย  มิฉะนั้น  ศาลอาจมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ได้
                     ผลของการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
                     1. จำเลยจะนำพยานของตนเข้าสืบไม่ได้  ไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคลหรือพยานเอกสาร
                     2. จำเลยมีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ได้
    การขาดนัดพิจารณา   คือ 
                                  คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาล  (ไม่ว่าจะเป็นตัวความหรือผู้มีสิทธิทำการแทนตัวความ  เช่น  ผู้รับมอบอำนาจและทนายความ)  ในวันสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี  ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดพิจารณา
    ผลของการขาดนัดพิจารณา
                     1. คู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา     ศาลสั่งจำหน่ายคดี
                     2. โจทก์ขาดนัดพิจารณา         
                              - ถ้าจำเลยไม่ประสงค์ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป  ศาลจำหน่ายคดี
                              - ถ้าจำเลยแจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไป ศาลจะพิจารณาและ
    ชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว
                     3. จำเลยขาดนัดพิจารณา     ศาลจะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว
    การชี้สองสถาน
    การชี้สองสถานเป็นกระบวนพิจารณาภายหลังที่ศาลได้รับคำฟ้องและคำให้การแล้ว  เหตุที่ต้องมีการชี้สองสถานเพราะบางครั้งคู่ความยกข้อโต้เถียงกันมาก  ยืดยาว  สับสน  ศาลจึงต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบ  เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
                          ในวันชี้สองสถาน  ศาลจะตรวจสอบคำฟ้อง  คำให้การ  และคำแถลงต่างๆ  แล้วสอบถามคู่ความเกี่ยวกับข้ออ้างข้อเถียง  และพยานหลักฐาน  รวมทั้งจะสอบถามถึงข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งอ้างแต่อีกฝ่ายไม่ยอมรับ แล้วกำหนดประเด็นข้อพิพาท  กับกำหนดว่าฝ่ายใดมีหน้าที่นำพยานมาสืบพิสูจน์
                          คดีที่ไม่ต้องมีการชี้สองสถาน  เช่น
                          1. จำเลยคนใดคนหนึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ
                          2. คดีมโนสาเร่  คดีไม่มีข้อยุ่งยาก
                          3. คดีที่ศาลเห็นว่ามีประเด็นข้อพิพาทไม่ยุ่งยาก  หรือไม่จำเป็นต้องชี้สองสถาน
    ชนิดของพยานหลักฐาน
    1. พยานบุคคล  หมายถึง  บุคคลที่ไปเบิกความให้ข้อเท็จจริงต่อศาล
                2. พยานเอกสาร  หมายถึง  กระดาษ  หรือวัตถุใดๆ  ที่ปรากฎตัวอักษร  ตัวเลข  หรือเครื่องหมายซึ่งเป็นการสื่อความหมายนั้นๆ  เช่น  สัญญากู้   โฉนดที่ดิน
                    3. พยานวัตถุ  หมายถึง  วัตถุสิ่งของหรือสัตว์ที่นำมาให้ศาลตรวจ
                    4. พยานผู้เชี่ยวชาญ  หมายถึง  พยานที่มาเบิกความให้ความเห็นต่อศาล  ในฐานะเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในวิชาการบางอย่าง
    พยานบุคคลมี 2 ประเภท ได้แก่               
                   1.  พยานนำ คือ พยานบุคคลหากคู่ความนำมาศาลได้เอง  ก็ไม่จำเป็นต้องขอหมายเรียกให้มา 
                   2. พยานหมาย คือ  คู่ความไม่สามารถนำพยานมาเองได้ก็จะขอให้ศาลออกหมายเรียกไปยังบุคคลที่อ้างนั้น  เพื่อให้มาเบิกความต่อศาล
    พยานเอกสาร
                    ซึ่งอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น  หากคู่ความฝ่ายใดประสงค์จะอ้างเป็นพยานก็จะขอให้ศาลมีหมายเป็นคำสั่งเรียกไปยังผู้ครอบครองเอกสารนั้นให้ส่งเอกสารต่อศาล
    พยานผู้เชียวชาญ
                     ถ้าคู่ความต้องการให้พยานดังกล่าวไปให้การออกความเห็นในประเด็นใดที่ศาล  อาจขอให้ศาลแต่งตั้งหรือจะอ้างและนำไปศาลเองก็ได้  แต่ถ้าเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้ง  ศาลสามารถให้พยานผู้เชี่ยวชาญทำความเห็นเป็นหนังสือก็ได้  และหากไม่เป็นที่พอใจศาลอาจให้พยานผู้เชี่ยวชาญนั้นไปเบิกความประกอบหนังสือด้วยก็ได้
    พยานวัตถุ
                     คู่ความฝ่ายที่อ้างจะนำส่งต่อศาลและให้อีกฝ่ายหนึ่งตรวจดูต่อหน้าศาลนั้น  ถ้าเป็นวัตถุใหญ่โตยากแก่การนำมาศาล  โจทก์จะขอให้ศาลออกไปเดินเผชิญสืบเพื่อตรวจพยานวัตถุนั้นนอกศาลก็ได้
    การเดินเผชิญสืบ
                     เป็นการไปสืบพยานนอกศาล  นอกจากจะไปตรวจพยานวัตถุ  ดังกล่าวแล้ว  อาจใช้ในกรณีที่พยานบุคคลป่วยเจ็บหรือชราภาพ  จนไม่สามารถเดินทางมาศาลได้  หรือออกไปตรวจสถานที่ที่พิพาทกันในคดีเพื่อให้ศาลเห็นสภาพที่แท้จริง
    พยานบุคคลมี 2 ประเภท ได้แก่               
                   1.  พยานนำ คือ พยานบุคคลหากคู่ความนำมาศาลได้เอง  ก็ไม่จำเป็นต้องขอหมายเรียกให้มา 
                   2. พยานหมาย คือ  คู่ความไม่สามารถนำพยานมาเองได้ก็จะขอให้ศาลออกหมายเรียกไปยังบุคคลที่อ้างนั้น  เพื่อให้มาเบิกความต่อศาล
     
     
    พยานเอกสาร
                    ซึ่งอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น  หากคู่ความฝ่ายใดประสงค์จะอ้างเป็นพยานก็จะขอให้ศาลมีหมายเป็นคำสั่งเรียกไปยังผู้ครอบครองเอกสารนั้นให้ส่งเอกสารต่อศาล
    พยานผู้เชียวชาญ
                     ถ้าคู่ความต้องการให้พยานดังกล่าวไปให้การออกความเห็นในประเด็นใดที่ศาล  อาจขอให้ศาลแต่งตั้งหรือจะอ้างและนำไปศาลเองก็ได้  แต่ถ้าเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้ง  ศาลสามารถให้พยานผู้เชี่ยวชาญทำความเห็นเป็นหนังสือก็ได้  และหากไม่เป็นที่พอใจศาลอาจให้พยานผู้เชี่ยวชาญนั้นไปเบิกความประกอบหนังสือด้วยก็ได้
    พยานวัตถุ
                     คู่ความฝ่ายที่อ้างจะนำส่งต่อศาลและให้อีกฝ่ายหนึ่งตรวจดูต่อหน้าศาลนั้น  ถ้าเป็นวัตถุใหญ่โตยากแก่การนำมาศาล  โจทก์จะขอให้ศาลออกไปเดินเผชิญสืบเพื่อตรวจพยานวัตถุนั้นนอกศาลก็ได้
    การเดินเผชิญสืบ
                     เป็นการไปสืบพยานนอกศาล  นอกจากจะไปตรวจพยานวัตถุ  ดังกล่าวแล้ว  อาจใช้ในกรณีที่พยานบุคคลป่วยเจ็บหรือชราภาพ  จนไม่สามารถเดินทางมาศาลได้  หรือออกไปตรวจสถานที่ที่พิพาทกันในคดีเพื่อให้ศาลเห็นสภาพที่แท้จริง
    ในระหว่างที่มีการดำเนินคดี   ก่อนที่ศาลพิพากษาชี้ขาดว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะหรือแพ้คดี  ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะได้รับความเสียหาย  กฎหมายจึงกำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองคู่ความไว้ชั่วคราว  โดยกำหนดไว้  3  กรณี  คือ
                     1. จำเลย   เป็นผู้ขอ  ได้แก่ ขอให้โจทก์วางเงินหรือหาประกัน
                     2. โจทก์    เป็นผู้ขอ   ได้แก่
                                       -  ขอให้ยึด หรือ อายัดทรัพย์สินของจำเลย
                                       -  ขอให้ศาลห้ามไม่ให้จำเลยกระทำซ้ำ  หรือกระทำต่อไป  ซึ่งเป็นการละเมิด  การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง
                                       -  ขอให้ศาลมีคำสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่า  การบุบสลายของทรัพย์สิน
                                       -  ขอให้จับกุมและกักขังจำเลยชั่วคราว       เป็นต้น
                     3. โจทก์ หรือจำเลย  เป็นผู้ขอ  ได้แก่
                                       -  ขอให้นำทรัพย์สิน  หรือเงินที่พิพาทวางต่อศาล  หรือบุคคลภายนอก
                                       -  ขอให้บุคคลไร้ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก เป็นต้น
    คำพิพากษาของศาล
    1.  คำพิพากษา
                         คำพิพากษาของศาลกฎหมายกำหนดให้ทำเป็นหนังสือแสดงคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีและเหตุผลคำวินิจฉัยนั้น  รวมทั้ง  เรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย
                         ย่อหน้าสุดท้ายของคำพิพากษา  จะบอกผลของข้อวินิจฉัย  พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน จำนวน..........................            หรือ           พิพากษายกฟ้อง  ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
     
                      การอ่านผลของคดีจากคำพิพากษาชั้นศาลอุทธรณ์ หรือ ศาลฎีกา มีถ้อยคำที่ควรทราบ คือ
                      1. ยืน  หมายถึง  เห็นด้วยกับศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ทั้งหมด
                      2. ยก  หมายถึง  ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกายกอุทธรณ์หรือฎีกาของคู่ความ
                      3. กลับ  หมายถึง  ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ทั้งหมด
                      4. แก้  หมายถึง  เห็นด้วยบางส่วน  ไม่เห็นด้วยบางส่วน
                      เมื่อศาลพิพากษาแล้ว  ศาลจะมีคำสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาปฎิบัติตามคำพิพากษา  และกำหนดวิธีปฏิบัติไว้   เรียกว่า   คำบังคับ
                      2. การพิพากษาตามยอม
                          เมื่อฟ้องคดีต่อศาลแล้วคู่ความอาจตกลงกันและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันได้ มี 2 วิธีคือ
                               1. การทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล ซึ่งเป็นการทำสัญญากันเองไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาของศาล ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และโจทก์ต้องมาขอถอนฟ้อง
                               2. การทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ซึ่งเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตามขั้นตอนและกระบวนการของศาล
                           ในช่วงคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ถ้าคู่ความตกลงกันได้ก็อาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลกันได้ ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเห็นว่าข้อตกลงไม่ขัดต่อกฎหมายศาลก็จะพิพากษาตามยอมให้
    การอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษา
      ข้อจำกัดการอุทธรณ์ ฎีกา              
                      เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว  คู่ความที่ไม่พอใจ  อาจอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้  หรือ  เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว  คู่ความที่ไม่พอใจ  อาจฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้  ข้อโต้แย้งที่คู่ความหยิบยกขึ้นอาจแยกเป็นข้อกฎหมาย และ ข้อเท็จจริง  โดยหลักถ้าเป็นข้อกฎหมายจะไม่มีข้อห้ามในการอุทธรณ์ฎีกา  แต่กฎหมายจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาปัญญาข้อเท็จจริง
                    ระยะเวลาการอุทธรณ์ฎีกา
                     คู่ความจะต้องยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด  1  เดือน  นับแต่วันที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังแล้วแต่กรณี
    การบังคับคดี
    หมายถึง  วิธีการที่คู่ความผู้ชนะคดีจะดำเนินการเอาแก่ผู้แพ้คดีเพื่อให้ได้ผลตามคำพิพากษา   เนื่องจากฝ่ายแพ้คดีไม่ยอมปฎิบัติตามคำพิพากษาโดยได้ทราบคำบังคับและระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้เพื่อการปฎิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว  เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีอำนาจที่จะดำเนินการขอให้ศาลบังคับคดีได้
                   อนึ่ง  คู่ความฝ่ายชนะคดีจะต้องร้องขอให้มีการบังคับคดีภายใน 10 ปี  นับแต่วันศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด แต่ถ้าผู้ชนะคดีไม่ร้องขอให้ศาลบังคับคดีภายใน 10 ปี การบังคับคดีก็ย่อมสิ้นสุดลง
                    วิธีการบังคับคดี
                    1. วิธีการออกหมายบังคัดคดี  เมื่อได้มีการส่งคำบังคับให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา  และระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้เพื่อปฎิบัติตามคำพิพากษาได้ล่วงพ้นแล้ว  แต่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาย



    คนชนบท
    (ไม่ใช่สมาชิก)
    ข้อความที่ 1 เมื่อ » 2013-06-20 12:33:05 (IP : , ,223.205.105.19 ,, )
    ขอปรึกษานะคะ
    ดิฉันได้ทำงานอยู่บริษัทประกันแห่งหนึ่งและได้นำเงินลูกค้าไปใช้ประมาณ 250,000 บาท ต่อมาหัวหน้าจับได้จึงชดใช้เงินจำนวนนี้ให้ก่อนโดยได้ทำหนังสือสัญญาว่าดิฉันได้กู้ยืมเงินของเขา 250,000 บาทโดยให้ดิฉันผ่อนชำระเขาเดือนละ 10,000บาท ดิฉันจ่ายได้ประมาณ 50,000 ก็มีเหตุให้ตกงานเขาจึงผ่อนผันให้ 6 เดือนระหว่างที่หางานทำใหม่ และพอดิฉันก็ได้ทำงานและครบกำหนดผ่อนผัน 6 เดือน เขาก็ให้ดิฉันชดใช้เดือนละ 2,000 บาท จ่ายมาได้ประมาณ 9 เดือนมีเหตุจำเป็นให้ดิฉันต้องลาออกจากงานแต่ทางฝ่ายหัวหน้าเค้าไม่ยอมโดยยื่นคำขาดให้ดิฉันเอาเงินมาคืนเขาภายใน 10 วันตามจำนวนเงินที่ยังค้างอยู่ ถ้าไม่อย่างนั้นจะเอาตำรวจมาจับ ดิฉันควรจะทำอย่างไรดีคะเครียดมากเลยค่ะ


    แสดงความคิดเห็นเท่านั้น
    (ไม่ใช่สมาชิก)
    ข้อความที่ 2 เมื่อ » 2013-07-20 16:31:29 (IP : , ,183.88.251.14 ,, )
    ช่วงนี้เป็นวันเข้าพรรษา ทำบุญๆ เข้าวัดทำจิตใจ ทบทวนที่ผ่านมา สิ่งที่เราทำไว้ก้บบริษัทฯ ที่เราได้งาน มีเงิน มีความมั่งคง แต่ทำกับเค้าไว้ก็ต้องชดใช้เค้าไปเถอะๆ พูดคุยเจรจาประนอมหนี้ฯ ผลัดผ่อนไปก่อน อย่าหนี ไม่มี ไม่หนี ทยอยๆๆ จ่าย สุดท้าย....
    เค้าจะนำตำรวจมาจับคิดว่าคงไม่น่าจะจับได้เหรอ เกิดเป็นลูกหนี้นั้นมันแสนลำบาก แต่ชีวิตเจ้าหนี้นั้นตอนทวงยิ่งยากกว่าหลายเท่า (ฝ่ายหัวหน้าเค้า) ยังไม่รวมค่าอื่นๆ ฯลฯ อีกเยอะ

    พัชญาดา
    (ไม่ใช่สมาชิก)
    ข้อความที่ 3 เมื่อ » 2013-09-14 01:48:07 (IP : , ,115.67.4.92 ,, )
    ดิฉันเป็นหนี้นอกระบบ100000บาทอัตตราดอกเบี้ยร้อยละ10จ่ายแค่ดอกเดือนละ10000มา6เดือนแต่ตอนนี้ไ ม่มีจ่ายคะ ขอผ่อนผันจ่ายแค่ต้น เดือนละ5000บาท เขาก็ยอมแต่พอจ่ายได้2เดือนเขาจะให้จ่ายเดือนละ30000หมื่นคะ ถ้าไม่จ่ายเขาจะฟ้อง คือเราได้ทำสัญญาเงินกู้แต่ไม่ได้ระบุดอกไว้ จะทำอย่างไรดีคะ

    NeNmolHrX9me
    (ไม่ใช่สมาชิก)
    ข้อความที่ 4 เมื่อ » 2014-04-18 01:56:22 (IP : , ,198.245.51.165 ,, )
    Keep it coming, wrsitre, this is good stuff.

    วรรณ
    (ไม่ใช่สมาชิก)
    ข้อความที่ 5 เมื่อ » 2014-07-23 15:06:57 (IP : , ,125.24.215.45 ,, )
    ดิฉันแพ้คดีความเรื่องงานก่อสร้าง ดิฉันต้องเสียเงินให้กับฝ่ายที่ชนะ จำนวน 380000 บาท ซึ๋งดิฉันไม่มีเงิน มีแต่รถ และ บ้านที่ยังผ่อนกับธนาคารอยู่
    จะมีวิธีอย่างไรบ้างค่ะ สามารถผ่อนผันได้ไหม และระยะเวลาเท่าไหร่ ช่วยอะไรให้ด้วยค่ะ


    Jalat
    (ไม่ใช่สมาชิก)
    ข้อความที่ 6 เมื่อ » 2014-10-04 21:48:02 (IP : , ,49.230.96.30 ,, )
    เช่าซื้อรถยังไม่ถึง2อาทิตย์แต่เจ้าของร้านกับให้เอารถไปคืน เขาว่าเราจะนำรถไปขายแต่ทำไมต้องฟ้องทนาย เพราะเราไม่ได้ผิดนัดหรือค้างค่างวดทำยังไงดีค่ะ

    คนนาสกุลมนุษ
    (ไม่ใช่สมาชิก)
    ข้อความที่ 7 เมื่อ » 2015-07-26 13:31:56 (IP : , ,49.230.98.51 ,, )
    *-*


    คนนาสกุลมนุษ
    (ไม่ใช่สมาชิก)
    ข้อความที่ 8 เมื่อ » 2015-07-26 13:35:33 (IP : , ,49.230.98.51 ,, )
    ผมขายรถแต่ไม่ได้เงิน โดนโกงควรทำไง

    Ang
    (ไม่ใช่สมาชิก)
    ข้อความที่ 9 เมื่อ » 2015-08-03 16:01:20 (IP : , ,1.47.41.46 ,, )
    เป็นหนี้นอกระบบ ร้อย 10-20 เจ้าหนี้สามารถฟ้องศาลได้ไหม

    kan
    (ไม่ใช่สมาชิก)
    ข้อความที่ 10 เมื่อ » 2015-09-29 12:54:36 (IP : , ,58.137.241.102 ,, )
    ดิฉันได้ทำงานบริษัทแห่งหนึ่ง ทางบริษัทได้ส่งดิฉันไปดูงานที่ต่างประเทศ แล้วก่อนไปได้เซ็นสัญญาข้อตกลงร่วมกัน โดยในสัญญาระบุว่าหลังจากกลับมาต้องทำงานให้บริษัทอีก 1 ปี หากผิดสัญญาจะมีการปรับเงินค่าใช้จ่าย แต่ในสัญญาไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินเท่าไหร่ ตอนนั้นดิฉันได้ถามเจ้าหน้าที่ว่าเป็นเงินเท่าไหร่ เค้าบอกว่าไม่เกินสามหมื่นบาท แต่สุดท้ายหลังจากกลับมาได้ 4 เดือน มีเหตุให้ต้องลาออกเนื่องจากการทำงานที่เปลียนไป จึงกดดันให้ทำงานไม่ไหว จึงลาออก แต่เค้ากลับปรับเงินเป็นหกหมื่น (คิดค่าใช้จ่ายทุกอย่าง) โดยไม่มีการแจงรายละเอียดให้ดิฉันทราบ และหากไม่ให้ตามนี้ทางบริษัทจะฟ้องศาล ดิฉันจะหาทางออกได้อย่างไรบ้าง ทั้งๆที่ทำงานมาให้ถึง 4 เดือนแล้ว ดิฉันต้องทำอย่างไรได้บ้างค่ะ
    Please login for write message