0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 438 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-04-17
จำนวนครั้งที่ชม : 7,608,707 ครั้ง
Online : 71 คน
Photo

    สัญญาขายฝาก


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2022-05-12 15:08:44 (IP : , ,49.49.249.151 ,, Admin)
    See the source image
    การขายฝาก
    ความหมาย : สัญญาขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อโดยผู้ซื้อตกลงในขณะทำสัญญาว่าผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในกำหนดเวลาเท่าใดแต่ต้องไม่เกินเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เช่น ขายที่ดินโดยมีข้อตกลงว่าถ้าผู้ขายต้องการซื้อคืนผู้ซื้อจะยอมขายคืนเช่นนี้ถือว่าเป็นข้อตกลงให้ไถ่คืนได้
             ตัวอย่างนายสีนำสวนทุเรียนไปขายกับผู้ใหญ่มาโดยมีข้อตกลงในขณะทำสัญญาว่าผู้ใหญ่มายินยอมให้นายสีไถ่ที่สวนทุเรียนนั้นคืนได้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ซื้อขายที่สวนกันสัญญาชนิดนี้เรียกว่า สัญญาขายฝาก
    ข้อตกลงกันว่า “ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์สินคืนได้” ข้อตกลงนี้จะต้องมีขึ้นในขณะทำสัญญาซื้อขายกันเท่านั้นถ้าทำขึ้นภายหลังจากที่ได้ทำสัญญาซื้อขายแล้ว สัญญาดังกล่าวไม่ใช่สัญญาขายฝากแต่เป็นคำมั่นว่าจะขายคืนนั้น
    ทรัพย์สินที่สามารถขายฝากได้ : ทรัพย์สินทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นประเทศใดก็ตาม เช่นที่ดิน ที่สวน ไร่นา บ้าน รถยนต์ เรือ เกวียน โทรทัศน์ ฯลฯ ย่อมสามารถขายฝากได้เสมอ
    แบบของสัญญาขายฝาก :
              (1) ถ้าเป็นสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ (คือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้) เช่น ที่ดิน ที่นา บ้าน ฯลฯต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานน้าที่ในกรณีที่เป็นที่ดินต้องจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินถ้าเป็นบ้านก็จดต่อที่ว่าการอำเภอที่บ้านนั้นตั้งอยู่ถ้าไม่ทำตามนี้แล้วถือว่าสัญญาขายฝากจะเสียเปล่าบังคับไม่ได้เท่ากับว่าไม่ได้ทำสัญญากันเลย
    ตัวอย่าง นายทุเรียนต้องการขายฝากที่ดิน 1 แปลงแก่นายส้มโอ ก็ต้องทำสัญญาขายฝากที่ดินนี้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินและจดทะเบียนการขายฝากที่ดินนี้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินถ้าไม่ทำเช่นนี้แล้วถือว่าสัญญาขายฝากรายนี้เสียเปล่าใช้ไม่ได้มาตั้งแต่แรก
              (2) ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ( คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ซึ่งกำหนดไว้เป็นพิเศษว่าจะต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่) เช่น แพเรือยนต์ สัตว์พาหนะ ฯลฯ ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยที่เรือจะจดทะเบียนที่กรมท่า สัตว์พาหนะและแพจะต้องจดที่อำเภอถ้าไม่ทำตามนี้แล้วถือว่าสัญญาขายฝากจะเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้เลย
              (3) ถ้าเป็นขายฝากสังหาริมทรัพย์ชนิดธรรมดา (คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้เว้นแต่เรือ แพ สัตว์พาหนะที่ต้องทะเบียนดังกล่าวในข้อ 1) ที่มีราคา 500 บาทหรือเรียกว่า 500 บาทขึ้นไป เช่น รถยนต์ เกวียน เครื่องสูบน้ำเป็นต้นการขายฝากนี้จะทำเป็นหลักฐานเป็นหนังสือให้ผู้ขายฝากและผู้ซื้อลงชื่อไว้ในหนังสือหรือต้องมีการวางมัดจำหรือมีการชำระหนี้บางส่วนไปแล้วมิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้ศาลบังคับไม่ได้
    ข้อตกลงไม่ให้ผู้ซื้อฝากจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายฝาก :
              ในการตกลงฝากคู่สัญญาจะตกลงกันไม่ให้ผู้ซื้อฝากจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายฝากก็ได้แต่ถ้าผู้ซื้อขายฝากฝ่าฝืนข้อตกลงที่กำหนดในสัญญาโดยนำทรัพย์สินที่ขายฝากไปจำหน่ายให้ผู้อื่นผู้ซื้อฝากจะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นแก่ผู้ขายฝาก
             ตัวอย่างนางดำนำแหวนแต่งงานของตนซึ่งมีราคา 70,000 บาทไปขายฝากแก่เถ้าแก่เฮงในราคา 50,000 บาท โดยสัญญาตกลงว่า “ห้ามเถ้าแก่เฮงนำแหวนไปขายให้แก่บุคคลอื่น” ต่อมาเถ้าแก่นำแหวนไปขายให้นางดีโดยนางดีไม่ทราบว่าแหวนนี้เป็นของใคร เป็นเหตุให้นางดำไม่สามารถติดตามเอาแหวนคืนได้เช่นนี้เถ้าแก่เฮงต้องชดใช้ค่าเสียหายอันเป้นราคาแหวน 20,000 บาท
    กำหนดเวลาในการไถ่ทรัพย์สิน :
              (1) ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ต้องกำหนดเวลาในการใช้สิทธิไถ่คืนไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มีการซื้อขายฝากกัน แต่ไม่ได้กำหนดเวลาในการไถ่เอาไว้หรือกำหนดเวลาไว้เกินกว่า 10 ปี กฎหมายให้ลดเวลาลงเหลือแค่ 10 ปีเท่านั้น
              (2) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษและชนิดธรรมดาต้องกำหนดเวลาไถ่คืนไม่เกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันซื้อขายฝากกันแต่ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาในการไถ่คืนเอาไว้ หรือกำหนดเวลาไว้เกินกว่า 3 ปีให้ลดเวลาลงเหลือ 3 ปี เท่านั้น
    สินทรัพย์ที่นิยมนำไปขายฝากเช่น ที่ดิน บ้าน อาคาร เป็นต้น เนื่องจากได้วงเงินสูง สินทรัพย์อื่นๆ เช่น ของมีค่าอย่าง ทอง นาฬิกา หรือรถยนต์ ก็สามารถนำไปขายฝากได้เช่นเดียวกัน โดยสินทรัพย์ที่นำไปขายฝากได้หรือไม่ได้ ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้ซื้อฝากและผู้ขายฝาก อย่างไรก็ตามสินทรัพย์ที่นำไปขายฝากจะต้องไม่มีภาระผูกพันใดๆ เช่น ที่ดินที่ยังติดภาระกับธนาคาร หรือรถยนต์ที่ยังติดไฟแนนซ์อยู่ เป็นต้น กล่าวคือสินทรัพย์ที่ใช้ในการขายฝาก ผู้ขายฝากจะต้องถือกรรมสิทธิในสินทรัพย์นั้นๆ อยู่นั่นเอง
    ทรัพย์สินที่นำไปขายฝากจะปลอดภัยมั้ย?
    ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสินทรัพย์ที่นำไปขายฝาก ถ้าเพื่อนๆ ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างถูกต้องแล้วล่ะก็ คลายความกังวลไปได้เลย เพราะตามสัญญาแล้ว ผู้ซื้อฝากจะไม่มีสิทธินำสินทรัพย์ไป ขายหรือโอนให้ผู้อื่นได้ หากผู้ขายฝากยังไม่ผิดนัดตามสัญญานั่นเอง
    แล้วถ้าผู้ซื้อฝากฝ่าฝืนนำสินทรัพย์ขายฝากของเราไปขายล่ะ? ในกรณีนี้ผู้ขายฝาก สามารถเรียกค่าชดใช้เต็มจำนวนราคาขายฝากได้เลย เช่น ทำสัญญาขายฝากกันไว้ที่ 500,000 บาท ก็สามารถเรียกร้องเงินคืนได้ 500,000 บาทครับผม
    ข้อควรระวังการทำสัญญาขายฝาก!!
    เช่นเดียวกันการทำสัญญาอื่นๆ ทั่วๆ ไป ก่อนทำสัญญา ควรคุยรายละเอียดต่างๆ ในสัญญาให้เกิดความเข้าใจตรงกันก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง วงเงิน, ดอกเบี้ย, การหักดอกเบี้ย, วันทำสัญญา, วันครบกำหนด และควรคุยเผื่อในส่วนของการต่อสัญญา และหลักเกณฑ์การชำระเงินเช่น การจ่ายเงินต้นเพื่อลดดอกเบี้ย สามารถทำได้หรือไม่ เป็นต้น เพื่อความสบายใจ และความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันทั้งสองฝ่าย
    แล้วสัญญาขายฝาก ต่างกับการจำนองยังไง?
    หลายคนอาจจะยังสับสนระหว่างการขายฝาก และการจำนองว่าเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร…
    ข้อแตกต่างของการจำนอง และการขายฝากหลักๆ คือ กรรมสิทธิ์ของสินทรัพย์นั่นเอง โดยในการทำจำนองทรัพย์สินจะไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับจำนอง หากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา ผู้รับจำนองต้องดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลเพื่อทำการยึดทรัพย์และขายทอดตลาดเพื่อให้ผู้จำนองหรือผู้กู้สามารถนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้รับจำนองนั่นเอง ในการทำสัญญาจำนอง หากครบกำหนดตามสัญญาแล้วยังไม่ได้ไถ่ถอน ขอต่อเวลาและชำระดอกเบี้ยได้อีกไม่เกิน 5 ปี
    สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ที่ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับผลตอบแทนก็เท่ากับ 15% ต่อปีเช่นเดียวกัน และจะต้องทำสัญญาต่อหน้าเจ้าพนักงาน ณ กรมที่ดินเท่านั้นด้วย
    ข้อดีของการทำสัญญาขายฝาก
    ผู้ซื้อฝาก: ได้รับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทันที ไม่ต้องฟ้องร้องเพื่อยึดทรัพย์ เมื่อผู้ขายฝากผิดนัดชำระ ทรัพย์สินที่ขายฝากถือเป็นของผู้ซื้อฝากทันที
     



    Please login for write message