0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 439 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-04-22
จำนวนครั้งที่ชม : 7,632,875 ครั้ง
Online : 26 คน
Photo

    ร้องตั้งผู้จัดการมรดก


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2022-08-29 13:22:48 (IP : , ,49.49.239.210 ,, Admin)
    Admin Edit : 2022-08-29 13:24:21
    See the source image
    ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
    ผู้จัดการรดก คือ ผู้จัดการมรดก เอกสาร ผู้จัดการมรดกขายที่ดิน ตั้งผ้จัดกามรดกทำยังไง ทำไมต้องมีผู้จัดการมรดก ผูจัดการมรดก คือ ใคร ผูจัดการมรดกร่วม
    การร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
    เนื่องจาก เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย  และมีทรัพย์สินที่ตกทอดแก่ทายาทไม่ว่าจำเป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรมก็ตาม   บรรดาทรัพย์สินบางอย่างนั้นจำต้องมีการจดทะเบียนการได้มา  มิฉะนั้น  สิทธิของผู้ได้มาจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้  เช่น  เจ้ามรดกมีทรัพย์สินซึ่งมีทะเบียน เช่น โฉนดที่ดิน น.ส. 3  ทะเบียนอาวุธปืน  ทะเบียนรถยนต์  ซึ่งทรัพย์บางอย่างเจ้าพนักงานจะไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนให้หากไม่มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเสียก่อน
    เอกสารที่ต้องใช้ในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก (ต้นฉบับและสำเนาเอกสารอย่างละ 4 ชุด)
    1.ทะเบียนบ้านของผู้ตาย  และทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก  (กรณีผู้ร้อง อยู่คนละบ้านกับผู้ตาย)
    2.ใบมรณะบัตรของผู้ตาย
    3.ใบมรณะบัตรของบิดามารดา  กรณีบิดามารดาของผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว
    4.ทะเบียนสมรสของสามีหรือภริยาของผู้ตาย
    5.ทะเบียนสมรสพร้อมด้วยทะเบียนการหย่าของภริยาของผู้ตาย
    6.ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว  ชื่อสกุล  ของทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
    7.สูติบัตรของบุตรของผู้ตาย  กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือไม่สามารถให้ความยินยอมได้
    8.บัตรประจำตัวข้าราชการ  บัตรประจำตัวประชาชน  ของผู้ร้อง
    9.พินัยกรรมของผู้ตาย (กรณีทำพินัยกรรมไว้)
    10.หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดกและบัญชีเครือญาติ (ทนายจัดทำให้ตามแบบฟอร์ม) 
    11.เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย  เช่น  โฉนดที่ดิน  และสัญญาจำนอง  ทะเบียนรถจักรยานยนต์  ทะเบียนรถยนต์ อาวุธปืน  สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร  ใบหุ้น  และอื่นๆ  เป็นต้น
    12.บัตรประจำตัวประชาชน  และทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมทุกคน
    13.คำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก  ในกรณีที่เคยยื่่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว  แต่ผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย
    ใครบ้างมีสิทธิร้องขอจัดการมรดก
                ในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลนั้น ผู้นั้นจะต้องเป็น ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก หรือกล่าวคือ เป็นผู้ที่เจ้ามรดกกำหนดไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดก
                สำหรับ ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้น ตามปกติก็คือ ทายาทของเจ้ามรดก นั้นเอง โดยทายาทที่ว่านี้จะต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับทรัพย์สินของเจ้ามรดก โดยสามารถแยกได้ดังนี้
    หากเจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้
                1. กรณีที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมทรัพย์สินทุกรายการไว้ กรณีดังกล่าวนี้ผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะได้แก่ “ผู้ที่มีชื่อระบุไว้ในพินัยกรรมว่าเป็นผู้รับมรดก” หากเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์อื่นๆนอกเหนือที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ทายาทคนอื่นๆย่อมไม่สามารถร้องขอให้จัดการมรดกได้
    หากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรม
                2. กรณีที่เจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ หรือทำพินัยกรรมไว้เฉพาะทรัพย์สินบางรายการ กรณีดังกล่าวนี้จะต้องพิจารณาเสียก่อนว่า ทรัพย์มรดกจะตกแก่ใคร ? โดยสามารถแบ่งได้เป็นกรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้
                กรณีแรก : เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ บุคคลผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะได้แก่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา และคู่สมรสของเจ้ามรดก
                กรณีที่เจ้ามรดกมีลูก หลาน เหลน ลื่อ แต่ หากบุคคลดังว่าได้เสียชีวิตไปก่อนเจ้ามรดก แล้ว หากบุคคลดังกล่าวมีผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานของบุคคลดังกล่าว ย่อมสามารถรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ได้ เช่น เจ้ามรดกมีลูกชื่อนายหนึ่ง แต่นายหนึ่งได้เสียชีวิตไปก่อนที่เจ้ามรดกจะถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้น นายสองซึ่งเป็นบุตรของนายหนึ่งย่อมรับมรดกของเจ้ามรดกได้เสมือนเป็นนายหนึ่งเอง
                กรณีที่สอง : เจ้ามรดกไม่มีผู้สืบสันดัน แต่บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ บุคคลผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะได้แก่ บิดามารดาและคู่สมรสของเจ้ามรดก
     
               กรณีที่สาม : เจ้ามรดกไม่มีผู้สืบสันดานและบิดามารดาเสียชีวิตไปแล้ว แต่มีพี่น้องร่วมบิดาและมารดา บุคคลผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะได้แก่ พี่น้องร่วมบิดาและมารดาและคู่สมรสของเจ้ามรดก
                กรณีที่เจ้ามรดกมีพี่น้องร่วมบิดาและมารดา แต่บุคคลดังว่าได้เสียชีวิตไปก่อนเจ้ามรดกแล้ว หากบุคคลดังกล่าวมีผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานของบุคคลดังกล่าวย่อมสามารถรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ได้ เช่น เจ้ามรดกมีพี่ชายร่วมบิดาและมารดาเดียวกันชื่อนายหนึ่ง แต่นายหนึ่งได้เสียชีวิตไปก่อนที่เจ้ามรดกจะถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้น นายสองซึ่งเป็นบุตรของนายหนึ่งย่อมรับมรดกของเจ้ามรดกได้เสมือนเป็นนายหนึ่งเอง
                กรณีที่สี่ : เจ้ามรดกไม่มีผู้สืบสันดาน พี่น้องร่วมบิดามารดา และบิดามารดาได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว บุคคลผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะได้แก่ พี่น้องร่วมแต่บิดา หรือพี่น้องร่วมแต่มารดา และคู่สมรสของเจ้ามรดก
                กรณีที่เจ้ามรดกมีพี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา แต่บุคคลดังว่าได้เสียชีวิตไปก่อนเจ้ามรดกแล้ว หากบุคคลดังกล่าวมีผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานของบุคคลดังกล่าวย่อมสามารถรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ได้ เช่น เจ้ามรดกมีพี่ชายร่วมบิดาเดียวกันชื่อนายหนึ่ง แต่นายหนึ่งได้เสียชีวิตไปก่อนที่เจ้ามรดกจะถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้น นายสองซึ่งเป็นบุตรของนายหนึ่งย่อมรับมรดกของเจ้ามรดกได้เสมือนเป็นนายหนึ่งเอง
                กรณีที่ห้า : เจ้ามรดกไม่มีผู้สืบสันดาน ไม่มีพี่น้อง และบิดามารดาเสียชีวิตแล้ว บุคคลผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย และคู่สมรสของเจ้ามรดก
                กรณีที่หก : เจ้ามรดกไม่มีผู้สืบสันดาน พี่น้อง ปู่ย่าตายาย และบิดามารดาได้เสียชีวิตไปแล้ว บุคคลผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะได้แก่ ลุง ป้า น้า อา และคู่สมรสของเจ้ามรดก
                กรณีที่เจ้ามรดกมีลุง ป้า น้า อา แต่บุคคลดังว่าได้เสียชีวิตไปก่อนเจ้ามรดกแล้ว หากบุคคลดังกล่าวมีผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานของบุคคลดังกล่าวย่อมสามารถรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ได้ เช่น เจ้ามรดกมีลุงชื่อนายหนึ่ง แต่นายหนึ่งได้เสียชีวิตไปก่อนที่เจ้ามรดกจะถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้น นายสองซึ่งเป็นบุตรของนายหนึ่งย่อมรับมรดกของเจ้ามรดกได้เสมือนเป็นนายหนึ่งเอง
    วิธีการ: ขั้นตอนการตั้งผู้จัดการมรดก
     ในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกนั้น สามารถอธิบายขั้นตอนได้ดังต่อไปนี้
     
                1. จัดทำคำร้องยื่นต่อศาล การยื่นคำร้องจะต้องเขียนคำร้องโดยมีเนื้อหาประกอบไปด้วย สถานะของผู้ร้อง, ข้อมูลส่วนตัวของเจ้ามรดก, ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก, รายละเอียดทรัพย์มรดก, เหตุขัดข้องที่ไม่สามารถเข้าจัดการทรัพย์มรดกได้ ตลอดจนผู้ใดจะเป็นผู้จัดการมรดก ลงในแบบพิมพ์ศาลเพื่อยื่นต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ก่อนตาย
                2. ประกาศหนังสือพิมพ์ และนำส่งหมายเรียกให้แก่ทายาทคนอื่นๆ เมื่อมีการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลแล้ว จะต้องประกาศคำร้องดังกล่าวต่อสาธารณชน ซึ่งปัจจุบันสามารถขอใช้วิธีประกาศผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ และหากมีทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกหลายคนและมีทายาทบางคนที่ไม่ได้มีหนังสือยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ยื่นคำร้องจะต้องนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำร้องให้แก่ทายาทผู้นั้น เพื่อเรียกเข้ามาสอบถามความยินยอมในวันไต่สวนคำร้อง
                3. ไต่สวนคำร้อง เมื่อถึงวันนัดไต่สวนคำร้อง ทนายความจะต้องจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ตลอดจนบุคคลที่จะขึ้นให้การต่อศาลถึงความจริงตามที่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำร้อง
                4. คัดคำสั่งศาล และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เมื่อศาลได้ทำการไต่สวนคำร้องแล้ว ตามปกติ ณ วันเดียวกันนั้นเอง หากศาลเห็นสมควรก็จะมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกในทันที ซึ่งในชั้นนี้เราจะต้องขอคัดคำสั่งศาลเพื่อนำไปใช้จัดการมรดก โดยคำสั่งศาล 1 ฉบับ จะเสียค่าคัดจำนวน 50 บาท การจัดการมรดก 1 ชิ้น จะต้องใช้คำสั่งศาล 1 ฉบับ ดังนั้นจะต้องขอคัดตามจำนวนทรัพย์ที่จะต้องจัดการ
                อนึ่ง ทรัพย์บางชนิด หน่วยงานราชการบางแห่งมีหลักเกณฑ์ว่าจะต้องมีหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เช่น กรมที่ดิน ดังนั้นแล้ว ในการจัดการมรดกที่เป็นทรัพย์สินประเภท “ที่ดิน” จะต้องมีการขอ หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด โดยสามารถขอได้เมื่อพ้น 1 เดือนนับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก และจะต้องเสียค่าธรรมเนียมจำนวน 100 บาท ต่อหนังสือรับรอง 1 ฉบับ
                5. นำคำสั่งศาลและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดไปแสดงเพื่อขอโอนทรัพย์มรดก ในชั้นนี้จะต้องนำเอกสารที่ได้รับมาไปแสดงต่อหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชนที่ดูแลทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ เพื่อขอจำหน่ายหรือโอนทรัพย์มรดก
    ระยะเวลาการดำเนินการ
                ด้วยปัจจุบันสามารถร้องขอ จัดการมรดกทางช่องทางออนไลน์ได้ ทำให้การยื่นคำร้องสามารถทำได้ง่าย อีกทั้ง การไต่สวนคำร้องสามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ทำให้เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและค่าทนายความลงได้ โดยระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการตามปกติอยู่ที่ประมาณ 1 เดือนนับแต่ยื่นคำร้อง ทั้งนี้ **ขึ้นอยู่กับคดีที่ค้างพิจารณาในแต่ละศาล และใช้ระยะเวลาไต่สวนคำร้องเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น
    ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    บรรพ ๖ มรดก
    ลักษณะ ๔ วิธีจัดการ และ ปันทรัพย์มรดก
    หมวด ๑ ผู้จัดการมรดก
     ปพพ. มาตรา ๑๗๑๑ ผู้จัดการมรดก นั้น รวมตลอดทั้ง บุคคล ที่ตั้งขึ้น โดย พินัยกรรม หรือ โดย คำสั่งศาล
    ปพพ. มาตรา ๑๗๑๒ ผู้จัดการมรดก โดยพินัยกรรม อาจตั้งขึ้นได้
    (๑) โดย ผู้ทำพินัยกรรมเอง
    (๒) โดย บุคคล ซึ่ง ระบุไว้ ในพินัยกรรม ให้เป็นผู้ตั้ง
    ปพพ. มาตรา ๑๗๑๓ ทายาท หรือ ผู้มีส่วนได้เสีย หรือ พนักงานอัยการ จะร้องต่อศาล ขอให้ตั้ง ผู้จัดการมรดก ก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้
    (๑) เมื่อ เจ้ามรดก ตาย ทายาทโดยธรรม หรือ ผู้รับพินัยกรรม ได้สูญหายไป หรือ อยู่นอก ราชอาณาเขต หรือ เป็นผู้เยาว์
    (๒) เมื่อ ผู้จัดการมรดก หรือ ทายาท ไม่สามารถ หรือ ไม่เต็มใจ ที่จะจัดการ หรือ มีเหตุขัดข้อง ในการจัดการ หรือ ในการแบ่งปันมรดก
    (๓) เมื่อ ข้อกำหนดพินัยกรรม ซึ่ง ตั้ง ผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ ด้วยประการใดๆ
    การตั้ง ผู้จัดการมรดกนั้น ถ้า มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ ศาลตั้ง ตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้า ไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ ศาล ตั้งเพื่อประโยชน์แก่ กองมรดก ตามพฤติการณ์ และ โดยคำนึงถึง เจตนา ของเจ้ามรดก แล้วแต่ ศาลจะเห็นสมควร
    ปพพ. มาตรา ๑๗๑๔ เมื่อ ศาลตั้ง ให้ผู้ใดเป็น ผู้จัดการมรดก เพื่อการใดโดยเฉพาะ ผู้นั้น ไม่จำต้องทำบัญชี ทรัพย์มรดก เว้นแต่ จะจำเป็น เพื่อการนั้น หรือ ศาลสั่งให้ทำ
    ปพพ. มาตรา ๑๗๑๕
    ผู้ทำพินัยกรรม จะตั้งบุคคล คนเดียวหรือหลายคน ให้เป็น ผู้จัดการมรดก ก็ได้
    เว้นแต่ จะมีข้อกำหนดไว้ ในพินัยกรรม เป็นอย่างอื่น ถ้า มี ผู้จัดการมรดก หลายคน แต่ ผู้จัดการ เหล่านั้น บางคน ไม่สามารถ หรือ ไม่เต็มใจ ที่จะจัดการ และ ยังมี ผู้จัดการมรดก เหลืออยู่แต่คนเดียว ผู้นั้น มีสิทธิที่จะ จัดการมรดก ได้โดยลำพัง แต่ถ้า มี ผู้จัดการมรดก เหลืออยู่หลายคน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้จัดการ เหล่านั้น แต่ละคน จะจัดการโดยลำพัง ไม่ได้
    ปพพ. มาตรา ๑๗๑๖ หน้าที่ ผู้จัดการมรดก ที่ศาลตั้ง ให้เริ่ม นับแต่ วันที่ได้ฟัง หรือถือว่า ได้ฟัง คำสั่งศาลแล้ว
    ปพพ. มาตรา ๑๗๑๗ ในเวลาใดๆ ภายใน หนึ่งปี นับแต่ วันที่เจ้ามรดก ตาย แต่ ต้องเป็นเวลา ภายหลังที่เจ้ามรดก ตายแล้ว สิบห้าวัน ทายาท หรือ ผู้มีส่วนได้เสีย คนใดคนหนึ่ง จะแจ้งความ ถามไปยัง ผู้ที่ถูกตั้ง เป็นผู้จัดการมรดก โดยพินัยกรรม ว่าจะรับเป็น ผู ้จัดการมรดก หรือไม่ ก็ได้
    ถ้า ผู้ที่ได้รับแจ้งความ มิได้ตอบรับเป็น ผู้จัดการมรดก ภายใน หนึ่งเดือน นับแต่ วันรับแจ้งความนั้น ให้ถือว่า ผู้นั้นปฏิเสธ แต่การรับเป็นผู้จัดการมรดกนั้น จะทำภายหลัง หนึ่งปี นับแต่ วันที่เจ้ามรดก ตาย ไม่ได้ เว้นแต่ ศาลจะอนุญาต
    ปพพ. มาตรา ๑๗๑๘ บุคคล ต่อไปนี้ จะเป็น ผู้จัดการมรดก ไม่ได้
    (๑) ผู้ซึ่ง ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
    (๒) บุคคลวิกลจริต หรือ บุคคล ซึ่ง ศาลสั่งให้เป็น ผู้เสมือนไร้ความสามารถ
    (๓) บุคคล ซึ่ง ศาลสั่งให้เป็น คนล้มละลาย
     ปพพ. มาตรา ๑๗๑๙ผู้จัดการมรดก มีสิทธิและหน้าที่ ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไป ตามคำสั่งแจ้งชัด หรือ โดยปริยาย แห่งพินัยกรรม และ เพื่อ จัดการมรดก โดยทั่วไป หรือ เพื่อ แบ่งปัน ทรัพย์มรดก
    ปพพ. มาตรา ๑๗๒๐ผู้จัดการมรดก ต้องรับผิดต่อ ทายาท ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๘๐๙ ถึง ๘๑๒, ๘๑๙, ๘๒๓ แห่งประมวลกฎหมายนี้ โดยอนุโลม และ เมื่อ เกี่ยวกับ บุคคลภายนอก ให้ใช้ มาตรา ๘๓๑ บังคับ โดยอนุโลม
    ปพพ. มาตรา ๑๗๒๑ ผู้จัดการมรดก ไม่มีสิทธิที่จะ ได้รับบำเหน็จ จากกองมรดก เว้นแต่ พินัยกรรม หรือ ทายาทโดยจำนวนข้างมาก จะได้กำหนดให้ไว้
     
    ปพพ. มาตรา ๑๗๒๒ ผู้จัดการมรดก จะทำ นิติกรรมใดๆ ซึ่ง ตนมีส่วนได้เสีย เป็นปฏิปักษ์ ต่อกองมรดก หาได้ไม่ เว้นแต่ พินัยกรรม จะได้อนุญาตไว้ หรือ ได้รับอนุญาต จากศาล
    ปพพ. มาตรา ๑๗๒๓ ผู้จัดการมรดก ต้องจัดการ โดยตนเอง เว้นแต่ จะทำการ โดยตัวแทนได้ ตามอำนาจ ที่ให้ไว้ชัดแจ้ง หรือ โดยปริยาย ในพินัยกรรมหรือ โดยคำสั่งศาล หรือ ในพฤติการณ์ เพื่อประโยชน์แก่ กองมรดก
     ปพพ. มาตรา ๑๗๒๔ ทายาท ย่อมมีความผูกพันต่อ บุคคลภายนอก ในกิจการทั้งหลาย อัน ผู้จัดการมรดก ได้ทำไป ภายในขอบอำนาจ ในฐานะที่เป็น ผู้จัดการมรดก
    ถ้า ผู้จัดการมรดก เข้าทำ นิติกรรม กับบุคคลภายนอก โดยเห็นแก่ ทรัพย์สิน อย่างใดๆ หรือ ประโยชน์อย่างอื่นใด อันบุคคลภายนอก ได้ให้ หรือ ได้ให้คำมั่น ว่าจะให้ เป็นลาภส่วนตัว ทายาท หาต้องผูกพันไม่ เว้นแต่ ทายาท จะได้ยินยอมด้วย
    ปพพ. มาตรา ๑๗๒๕ ผู้จัดการมรดก ต้องสืบหา โดยสมควร ซึ่ง ตัวผู้มีส่วนได้เสีย และ แจ้งไปให้ทราบถึง ข้อกำหนดพินัยกรรม ที่เกี่ยวกับ ผู้มีส่วนได้เสียนั้น ภายในเวลา อันสมควร
    ปพพ. มาตรา ๑๗๒๖ ถ้า ผู้จัดการมรดก มีหลายคน การทำการ ตามหน้าที่ของ ผู้จัดการมรดกนั้น ต้องถือเอา เสียงข้างมาก เว้นแต่ จะมีข้อกำหนดพินัยกรรม เป็นอย่างอื่น ถ้า เสียงเท่ากัน เมื่อ ผู้มีส่วนได้เสีย ร้องขอ ก็ให้ศาล เป็นผู้ชี้ขาด
    ปพพ. มาตรา ๑๗๒๗ ผู้มีส่วนได้เสีย คนหนึ่งคนใด จะร้องขอให้ศาล สั่งถอน ผู้จัดการมรดก เพราะเหตุ ผู้จัดการมรดก ละเลยไม่ทำหน้า ที่ หรือ เพราะเหตุอย่างอื่น ที่สมควร ก็ได้ แต่ต้องร้องขอ เสียก่อนที่ การปันมรดก เสร็จสิ้นลงถึงแม้ว่า จะได้เข้ารับตำแหน่งแล้ว ก็ดี ผู้จัดการมรดก จะลาออกจากตำแหน่ง โดยมีเหตุอันสมควร ก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาต จากศาล
    ปพพ. มาตรา ๑๗๒๘ ผู้จัดการมรดก ต้องลงมือจัดทำ บัญชี ทรัพย์มรดก ภายใน สิบห้าวัน
    (๑) นับแต่ เจ้ามรดก ตาย ถ้า ในขณะนั้น ผู้จัดการมรดก ได้รู้ถึง การตั้งแต่ง ตามพินัยกรรม ที่มอบหมายไว้แก่ตน หรือ
    (๒) นับแต่ วันที่เริ่มหน้าที่ ผู้จัดการมรดก ตาม มาตรา ๑๗๑๖ ในกรณีที่ ศาลตั้งให้เป็น ผู้จัดการมรดก หรือ
    (๓) นับแต่ วันที่ ผู้จัดการมรดก รับเป็น ผู้จัดการมรดก ในกรณีอื่น
    ปพพ. มาตรา ๑๗๒๙ ผู้จัดการมรดก ต้องลงมือจัดทำ บัญชี ทรัพย์มรดก ให้แล้วเสร็จ ภายใน หนึ่งเดือน นับแต่ เวลาที่ระบุไว้ใน มาตรา ๑๗๒๘ แต่ กำหนดเวลานี้ เมื่อ ผู้จัดการมรดก ร้องขอ ก่อนสิ้นกำหนดเวลา หนึ่งเดือน ศาลจะอนุญาต ให้ขยายต่อไปอีก ก็ได้
    บัญชี นั้น ต้องทำต่อหน้าพยาน อย่างน้อยสองคน ซึ่ง ต้องเป็น ผู้มีส่วนได้เสีย ในกองมรดกนั้นด้วย
    บุคคล ซึ่ง จะเป็นพยาน ในการทำพินัยกรรม ไม่ได้ ตาม มาตรา ๑๖๗๐ จะเป็นพยาน ในการทำบัญชีใดๆ ที่ต้องทำขึ้น ตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ ไม่ได้
    ปพพ. มาตรา ๑๗๓๐ ให้นำ มาตรา ๑๕๖๓, ๑๕๖๔ วรรค ๑ และ ๒ และ ๑๕๖๕ แห่งประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม ในระหว่าง ทายาท กับ ผู้จัดการมรดก โดยพินัยกรรม และ ในระหว่างศาลกับ ผู้จัดการมรดก ที่ศาลตั้ง
    ปพพ. มาตรา ๑๗๓๑ ถ้า ผู้จัดการมรดก มิได้จัดทำ บัญชี ภายในเวลา และ ตามแบบ ที่กำหนดไว้ หรือถ้า บัญชีนั้น ไม่เป็นที่พอใจ แก่ศาล เพราะ ความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง หรือ การทุจริต หรือ ความไม่สามารถ อันเห็นประจักษ์ ของ ผู้จัดการมรดก ศาลจะถอน ผู้จัดการมรดกเสีย ก็ได้
    ปพพ. มาตรา ๑๗๓๒ ผู้จัดการมรดก ต้องจัดการตามหน้าที่ และ ทำรายงาน แสดงบัญชีการจัดการ และ แบ่งปันมรดก ให้เสร็จภายใน หนึ่งปี นับแต่ วันที่ระบุไว้ใน มาตรา ๑๗๒๘ เว้นแต่ ผู้ทำพินัยกรรม ทายาท โดยจำนวนข้างมาก หรือ ศาล จะได้กำหนดเวลา ให้ไว้ เป็นอย่างอื่น
    ปพพ. มาตรา ๑๗๓๓ การให้อนุมัติ การปลดเปลื้องความรับผิด หรือ ข้อตกลงอื่นๆ อันเกี่ยวกับ รายงานแสดงบัญชี การจัดการมรดก ดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๗๓๒ นั้น จะสมบูรณ์ ต่อเมื่อ รายงานแสดงบัญชีนั้น ได้ส่งมอบล่วงหน้า แก่ทายาท พร้อมด้วยเอกสาร อันเกี่ยวกับการนั้น ไม่น้อยกว่า สิบวัน ก่อนแล้ว
    คดีเกี่ยวกับ การจัดการมรดกนั้น มิให้ ทายาท ฟ้องเกินกว่า ห้าปี นับแต่ การจัดการมรดก สิ้นสุดลง
    คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5628/2538 คดีฟ้องผู้จัดการมรดกต้องฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกสิ้นสุดลง การจัดการมรดกจะถือว่าสิ้นสุดลงเมื่อใดนั้น ต้องพิจารณาว่า ผู้จัดการมรดกได้โอนมรดกทั้งหมดของเจ้ามรดกให้แก่ทายาทไปเมื่อใด
     
     



    Please login for write message