0
สมาชิก
ค้นฎีกา
ศาลยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
สภาทนายความ
กรมที่ดิน
กรมบังคับคดี
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เกี่ยวกับสำนักงาน บริการของเรา ทนายความ ดาวน์โหลดกฏหมาย ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2013-01-07
จำนวนสมาชิก : 439 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-04-26
จำนวนครั้งที่ชม : 7,643,439 ครั้ง
Online : 29 คน
Photo

    ตํ๋วแลกเงิน


    ทนายกาญจน์
    (Admin)
    เมื่อ » 2024-02-06 12:24:48 (IP : , ,171.6.250.226 ,, Admin)
    Importing from China to India: The Complete Guide
    ตั๋วแลกเงิน คืออะไร
              ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 908 บัญญัติว่า “อันตั๋วแลกเงินนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน”
    ตั๋วแลกเงิน (bill of exchange) กฎหมายบัญญัติว่าต้องทำเป็น “หนังสือตราสาร” หนังสือตราสาร หมายถึง หนังสือซึ่งจดลงไว้ตามแบบที่กฎหมายรับรอง 
     ปัญหาว่าสัญญาต่างๆ เช่น สัญญาฝากทรัพย์ สัญญากู้เงิน เป็นตราสารหรือไม่ คำตอบก็คือสัญญาเหล่านั้นไม่มีบทกฎหมายไว้ว่าจะต้องทำอย่างไร ต้องมีรายการอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นจะไม่เรียกว่าเป็นหนังสือตราสาร คงจะเป็นเพียงแต่ เอกสาร เท่านั้น
    การสั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน
              ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 912 วรรค 2 ตอนต้น ที่ว่า “อนึ่ง จะสั่งจ่ายเอาจากตัวผู้สั่งจ่ายเอง” กรณีนี้ ผู้สั่งจ่ายกับผู้จ่ายเป็นคนๆ เดียวกัน คือสั่งให้ตัวเองเป็นคนจ่ายเงินก็ได้ ซึ่งเราจะพบในกรณีที่เป็นธนาคารเดียวกันโดยสำนักงานใหญ่สั่งให้สำนักงานสาขาจ่ายเงิน หรือ
    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 912 วรรค 2 ตอนท้ายที่ว่า “หรือสั่งจ่ายเพื่อบุคคลภายนอกก็ได้” กรณีนี้เป็นการสั่งจ่ายในฐานะเป็นตัวแทนของคนอื่น ก็เป็นกรณีตามมาตรา 901 ซึ่งกรณีนี้จะมีถึง 4 ฝ่ายด้วยกันก็คือ  1. ผู้สั่งจ่าย  2. ผู้จ่าย 3. ผู้รับเงิน และ 4. ตัวการตัวแทน อนึ่งมาตรา 912 ใช้กับ ตั๋วแลกเงิน เท่านั้นไม่ได้บัญญัติให้นำไปใช้กับ ตั๋วสัญญาใช้เงิน และ เช็ค ด้วย
     รายการในตั๋วแลกเงิน มีบทบัญญัติอยู่ในมาตรา 909 รายการเหล่านี้ จำเป็นต้องมี เพราะว่าถ้าไม่มีแล้ว มาตรา 910 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน เว้นแต่ ที่ได้บัญญัติยกเว้นในวรรคสอง  วรรคสาม  วรรคสี่  และวรรคห้า  ของมาตรา 910 ก็คือรายการตามมาตรา 909  (4) (5) และ (7) นั่นเอง ลำดับรายการในตั๋วแลกเงินตามมาตรา 909 ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 8 รายการด้วยกันคือ
    รายการที่ 1. คำบอกว่าชื่อเป็นตั๋วแลกเงิน ปัญหาว่ารายการนี้จำต้องมีหรือไม่ ย้อนกลับไปคำว่า “ตั๋วเงิน” มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และ เช็ค เพราะฉะนั้นเราจะรู้ว่าเป็นตั๋วแลกเงินได้ก็ต่อเมื่อมีคำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ดังนั้นรายการนี้จำเป็น ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นตั๋วแลกเงิน อาจจะเป็นภาษาอังกฤษก็ได้และคำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงินไม่จำเป็นต้องเขียนไว้ที่หัวกระดาษ เป็นข้อความที่อยู่ในตั๋วแลกเงินเลยก็ได้
    รายการที่ 2. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงิน เป็นจำนวนแน่นอนในรายการที่ 2 เราแยกพิจารณาได้ 3 ส่วนด้วยกัน
              2.1 ต้องเป็นคำสั่ง คำสั่งนั้นต้องเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินมีลักษณะบังคับ ไม่ใช่เป็นการขอร้อง
              คำพิพากษาฎีกาที่ 1539 / 2530 วินิจฉัยว่า เช็คที่มีข้อความครบถ้วน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 899 แล้ว ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำว่าโปรดจ่าย หรือถ้อยคำว่าให้ใช้เงินก็ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันว่า ให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้น จึงเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
    2.2 ต้องปราศจากเงื่อนไข เงื่อนไขคือ คือเหตุการณ์ในอนาคตอันไม่แน่นอน ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 182 ตั๋วเงินทุกประเภท ทั้งตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือ เช็ค ต้องมีข้อความแน่นอน ถ้ามีเงื่อนไขหมายความว่าไม่มีความแน่นอน  กรณีเป็นเอกสารเปลี่ยนมือ ย่อมเกิดความขัดข้อง เพราะว่าจะบังคับไม่ได้เนื่องจากมีเงื่อนไข
              เงื่อนไขที่ต้องห้ามตามมาตรานี้ ได้แก่ เงื่อนไขในการจ่ายเงิน จะเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขบังคับหลังก็ตาม  คือให้จ่ายเงินเมื่อมีเหตุการณ์ในอนาคตอันไม่แน่นอนเกิดขึ้น ถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขที่ต้องห้าม แต่ถ้าหากว่าเหตุการณ์นั้นเป็นแต่เพียงมูลเหตุที่ก่อให้เกิดหนี้ กรณีนี้ไม่เป็นเงื่อนไขที่ต้องห้ามตามมาตรานี้
              ข้อสังเกตในกรณีของตั๋วสัญญาใช้เงินตามมาตรา 983 (2) เป็นคำมั่นสัญญาไม่ใช่คำสั่ง เหมือนตั๋วแลกเงินและเช็คแต่ที่เหมือนกันก็คือต้องปราศจากเงื่อนไขในการจ่ายเงิน
    นอกจากนั้น การออกตั๋วแลกเงินที่มีเงื่อนไขในการจ่ายเงินนั้นอย่างแตกต่างจากการจดข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดตามมาตรา 915 (1) ตัวอย่างเช่น นาย A  ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้ นาย B จ่ายเงิน 10,000 บาทให้แก่นายสอง โดยนาย A กำหนดลงไปในตั๋วแลกเงิน ว่านาย A จะรับผิดตามตั๋วแลกเงินต่อเมื่อ เรือสินค้าที่ชื่อว่า Pithon เข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพฯ กรณีนี้ถือเป็นเรื่องการจำกัดความรับผิดของนาย A ต่อผู้ทรงตั๋วเงินคือนายสอง ซึ่งทำได้ตามมาตรา 915 (1) หาใช่เป็นเรื่องเงื่อนไขในการจ่ายเงิน เพราะว่าการที่นาย A ได้สั่งให้ นาย B จ่ายเงินนั้นไม่มีเงื่อนไขอะไร ส่วนการที่นาย A ไปกำหนดว่า นายA จะรับผิดต่อเมื่อเรือเข้าเทียบท่านั้น เป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับความรับผิดของตนต่อผู้ทรง ซึ่งทำได้ตามมาตรา 915 (1)
              2.3 จำนวนเงินต้องแน่นอน สิ่งที่ต้องให้ใช้ตามตั๋วแลกเงินนั้นจะต้องเป็น เงิน จะเป็นสิ่งของอย่างอื่นไม่ได้แม้ว่าจะเป็นพันธบัตรรัฐบาลก็ยังไม่ได้ จะสั่งได้อย่างเดียวก็คือให้ใช้เงิน สำหรับเงินนั้นจะเป็นเงินตราของไทยหรือตราต่างประเทศก็ได้ สั่งจ่ายเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์อังกฤษก็ได้ แต่ว่าถ้ากำหนดเอาไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ ผู้จ่ายก็สามารถใช้เงินไทยได้ โดยดูอัตราแลกเปลี่ยน เราก็ต้องไปดูตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 196
    ในเรื่องของจำนวนเงินที่แน่นอน ไม่ใช่ว่าไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้เลย เพราะอาจจะเปลี่ยนแปลงได้โดยอัตตราดอกเบี้ย ถ้าตั๋วเงินนั้นเป็นตั๋วแลกเงิน หรือเป็นตัวสัญญาใช้เงินก็สามารถกำหนดดอกเบี้ยลงไปไว้ได้ ในตั๋วแลกเงินนั้นตามมาตรา 911 แต่ถ้าเป็นเรื่องเช็คก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็ไม่ถือว่าจำนวนที่ระบุของฝ่ายนั้นไม่แน่นอน แม้จะมีดอกเบี้ยด้วยก็ถือว่ายังเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนอยู่
     
     
    รายการที่ 3. ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย ผู้จ่าย ก็คือผู้ที่ได้รับคำสั่งจากผู้สั่งจ่ายให้เป็นผู้จ่ายเงิน รายการนี้ จำเป็นต้องมี ถ้าไม่มี ก็ไม่เป็นตั๋วแลกเงินเหมือนกัน เพราะถ้าไม่มีชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย เราจะนำตั๋วนั้นไปยื่นให้ใครรับรอง หรือนำไปยื่นให้ใครเป็นผู้จ่ายเงิน สำหรับชื่อหรือยี่ห้อก็คือ ชื่อที่บุคคลใช้ประกอบการค้าซึ่งปกติมักจะเป็นชื่อร้าน
              ข้อสังเกตอีกข้อหนึ่ง กรณีตั๋วสัญญาใช้เงิน ผู้ออกตั๋วนั้นเองเป็นผู้จ่าย เพราะฉะนั้น รายการชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่ายในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินจึงไม่มี ดังนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีรายการชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่ายอีก
    รายการที่ 4. วันถึงกำหนดใช้เงิน ในตั๋วแลกเงินก็ดี ในตัวสัญญาใช้เงิน จะต้องระบุถึงวันกำหนดใช้เงินไว้ ซึ่งวันถึงกำหนดใช้เงินนั้น อาจจะระบุได้ 4 ลักษณะด้วยกันตามที่บัญญัติในมาตรา 913 คือ
              4.1 ในวันหนึ่งวันใดที่กำหนดไว้ หมายถึงว่า เป็นวันที่ระบุไว้แน่นอนในตั๋วเงินนั้นว่า ให้ผู้จ่ายจ่ายเงินตามคำสั่งในวันเดือนปีใด เช่น สั่งจ่ายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 หรืออาจระบุว่าเป็นวันสำคัญวันใดวันหนึ่ง ซึ่งสามารถเข้าใจได้ว่า หมายถึงวันใด เช่นวันขึ้นปีใหม่ 2562 กรณีเช่นนี้ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าต้องหมายถึง 1 มกราคม 2563
              4.2 เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น เช่น 6 เดือนนับแต่วันนี้ก็ถือว่าสิ้นระยะเวลากำหนดไว้ นับแต่วันที่ลงในตั๋ว
              คำพิพากษาฎีกาที่ 557 / 2532 วินิจฉัยว่า หนี้ของจำเลยเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งถึงกำหนดใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ นับแต่วันที่ลงในตั๋ว เป็นหนี้ที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน คือในวันที่ครบกำหนดในตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อครบกำหนดแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ตามตั๋วเงินดังกล่าวจึงต้องเป็นผู้ผิดนัดทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรค 2 และต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน
              4.3 เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น กรณีนี้แยกออกได้เป็น 2 อย่างคือ เมื่อทวงถามอย่างหนึ่ง กับเมื่อได้เห็นอีกอย่างหนึ่ง
              ก. ถ้าเป็นตั๋วแลกเงินสั่งว่าให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม หมายความว่า ผู้ทรงจะต้องแจ้งให้ทราบว่าให้ใช้เงินตามตั๋วนั้นเมื่อใดเสียก่อน หรือว่ากี่วันหลังจากที่ได้รับหนังสือทวงถาม ถ้ากำหนดแล้วยังไม่ชำระวันนั้น จึงถือว่าเป็นวันที่ตั๋วแลกเงินถึงกำหนดใช้เงิน
              ข. ส่วนตั๋วแลกเงินเมื่อได้เห็น ก็คือ ผู้จ่ายต้องจ่ายทันทีเมื่อผู้ทรงนำตั๋วไปยื่นวันไหนก็ถึงกำหนดวันนั้น ซึ่งมีนักกฎหมายบางท่านเห็นว่าตั๋วทวงถามกับตั๋วเมื่อได้ เห็นนั้นเป็นอย่างเดียวกัน โดยทวงถามก็คือยื่นตั๋วเพื่อให้ใช้เงิน จะเรียกว่าทวงถามหรือได้เห็นหรือเมื่อยื่นก็มีความหมายอย่างเดียวกัน อันนี้เป็นแนวความคิดของนักกฏหมายฝ่ายหนึ่ง แต่ในส่วนของคำพิพากษาศาลฎีกานั้น เห็นอีกอย่างหนึ่ง ก็คือเห็นไปในทางตรงกันข้ามคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยมาโดยตลอดว่า เมื่อทวงถามกับเมื่อได้เห็นนั้นมีความหมายแตกต่างกัน
              คำพิพากษาฎีกาที่ 404 / 2515 (ประชุมใหญ่) วินิจฉัยว่า ตั๋วถึงกำหนดเมื่อทวงถาม กับเมื่อได้เห็นนั้นแตกต่างกันโดยเมื่อทวงถามหมายความว่าต้องทวงถามก่อนก่อนจะถึงกำหนด
              ส่วนคำว่า เมื่อได้เห็นนั้น หมายถึง ผู้ทรงนำตั๋วไปยื่นให้ผู้จ่ายเห็นไม่ใช่เรื่องที่ผู้จ่ายมาเห็นเอง หากผู้จ่ายมาเห็นตั๋วที่ผู้ทรง โดยผู้ทรงไม่ได้ยื่นให้ผู้จ่ายเห็นตั๋วนั้น ตั๋วนั้นก็ยังไม่ถึงกำหนด เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าผู้ทรงตั๋วยังอาจต้องการดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยนั้นมีอัตราสูง เขายังอยากจะได้ผลประโยชน์ ส่วนนี้ผู้จ่ายจะมาขอดูตั๋วเสร็จแล้วบังคับให้ผู้ทรงรับชำระเงิน โดยอ้างว่าเห็นตัวแล้วอย่างนี้ทำไม่ได้
              คำพิพากษาฎีกาที่ 199 / 2532 วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัล ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชดใช้เงินได้ ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 944 เรื่องตั๋วชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็น ที่ต้องนำมายื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงิน
              คำพิพากษาฎีกาที่ 1765 / 2536 วินิจฉัยว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกให้โจทก์ถึงกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถามแต่มีเงื่อนเวลาว่าหากจำเลยยังไม่ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ง. จนครบถ้วน โจทก์จะไม่ถอนเงินตามสัญญาใช้เงินหรือจะไม่โอนตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้บุคคลใด เงื่อนเวลาดังกล่าวเป็นเงื่อนเวลากำหนดไว้เพื่อประโยชน์ แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 ฉะนั้นเมื่อก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยมีหนังสือตอบโจทย์ว่าจำเลยขอชำระหนี้โจทก์ ด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท  ส. แสดงว่าจำเลยไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาอีกต่อไปแล้วจำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์เมื่อโจทก์ทวงถาม
              4.4 เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น ขอให้สังเกต ในข้อ 2. นั้นเป็นเรื่องเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ นับแต่วันที่ลงในตั๋ว แต่ในข้อ 4. นี้เป็นเรื่องเมื่อสิ้นระยะเวลากำหนดไว้นับแต่ได้เห็น ตัวอย่างเช่น กำหนดไว้ในตั๋วแลกเงินว่าสามเดือนนับแต่วันที่ได้เห็นตั๋วได้เห็น ก็คือนำตั๋วไปยื่นหมายความว่าผู้จ่ายต้องชำระเงิน เมื่อครบกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่ผู้ทรงได้นำตั๋วไปยื่น ซึ่งตั๋วชนิดนี้ตามมาตรา 928 บัญญัติไว้ว่า ผู้ทรงต้องนำยื่นให้รับรองเสียภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงิน หรือถ้าตั๋วแลกเงินนั้นไม่ได้ระบุระยะเวลาไว้ ก็ต้องนำไปยื่นเสียภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋ว
              ปัญหาว่าถ้าตั๋วแลกเงินที่ไม่ได้ระบุวันถึงกำหนดอย่างหนึ่งอย่างใดในลักษณะทั้ง 4 อย่างที่กล่าวมา จะทำให้ตั๋วนั้นเสียไปหรือไม่ คำตอบก็คือไม่ได้ทำให้ตั๋วเสียไป เพราะเหตุว่ามาตรา 910 วรรค 2 นั่นเอง บัญญัติว่า ถ้าตั๋วแลกเงินไม่ระบุเวลาใช้เงิน ให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น หมายความว่าเป็นตั๋วที่นำไปยื่นเมื่อใด ผู้จ่ายก็ต้องใช้เงินทันที แต่ทั้งนี้ก็ต้องแล้วแต่คู่กรณีอาจตกลงกันได้ แม้ว่าตั๋วเงินนั้นไม่ระบุเวลาใช้เงินเอาไว้ คู่กรณีอาจจะตกลงกันว่าให้ใช้เงินเมื่อไหร่ก็ต้องเป็นไปตามที่ตกลงกัน จะนำบทบัญญัติในเรื่องนี้มาใช้ระหว่างคู่กรณีไม่ได้ แต่ถ้าตั๋วเงินนั้นเกิดโอนเปลี่ยนมือไปถึงบุคคลภายนอก อย่างนี้จะนำข้อตกลงกันไว้นี้ ไปใช้บังคับกับบุคคลภายนอกไม่ได้ ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกแล้ว ต้องถือว่าเป็นตั๋วที่พึงใช้เงินเมื่อได้เห็น ตามมาตรา 910 วรรค2
              ข้อสังเกต ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น มาตรา 984 วรรคสอง บัญญัติไว้อย่างเดียวกันกับ มาตรา 910 วรรค 2 ที่ว่าต่อสัญญาใช้เงินซึ่งไม่ระบุเวลาใช้เงินม ท่านให้ถือว่าเพิ่งใช้เงินเมื่อได้เห็นเหมือนกัน
     
    วันถึงกำหนดใช้เงินนั้นมีความสำคัญอยู่ 2 ประการ
              1. ผู้ทรงต้องนำตั๋วแลกเงินนั้นไปยื่นในวันถึงกำหนดตามมาตรา 941 ถ้าไม่นำไปยื่นตามกำหนดนั้น ผู้ทรงย่อมสิ้นสิทธิไล่เบี้ย เอาแก่ผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่ายและคู่สัญญาอื่นๆ เว้นแต่ผู้รับรอง ทั้งนี้ตามมาตรา 973
              2. ในเรื่องของการนับอายุความตามมาตรา 1001 และ 1002 ให้นับอายุความตั้งแต่วันถึงกำหนด
              ข้อสังเกต จะเห็นได้ว่ามาตรา 988 ในเรื่องเช็ค ไม่มีรายการวันถึงกำหนดใช้เงินเลย แต่คำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยมาโดยตลอดว่าอายุความในเรื่องเช็คนั้น ให้นับแต่วันที่ลงในเช็คซึ่งถือว่าเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงิน
              คำพิพากษาฎีกาที่ 2015 / 2532 วินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและสลักหลังให้รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาท ซึ่งลงวันที่ 26 มีนาคม 2527 อันเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริงและเป็นวันกำหนดชำระเงินภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่ลงในเช็คดังกล่าว คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
    คำพิพากษาฎีกา ก็วินิจฉัยเช่นนี้มาโดยตลอดเพราะฉะนั้นต้องจำไว้ว่าแม้มาตรา 988 จะไม่มีรายการวันถึงกำหนดใช้เงินก็ตาม แต่ว่ากรณีเช็คอย่างต้องนับอายุความตั้งแต่วันที่ลงในเช็ค
     



    Please login for write message